การถูกคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศของผู้หญิงจากนวนิยาย ในสังคมที่เปลี่ยนแปลง
คำสำคัญ:
การถูกคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศ, ผู้หญิงจากนวนิยาย, สังคมที่เปลี่ยนแปลงบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการศึกษานวนิยายไทยและนวนิยายแปลที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการถูกคุกคามและล่วงละเมิดทางเพศของผู้หญิง ในช่วงปี พ.ศ. 2561-2562 ที่มีเนื้อหาโดดเด่นเกี่ยวกับการถูกคุมคามและล่วงละเมิดทางเพศของตัวละครหญิง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเบื้องหลัง ลักษณะของการถูกคุมคามและล่วงละเมิดทางเพศ ชั้นเชิงการเอาตัวรอด ผลที่เกิดขึ้น รวมทั้งผลกระทบและการแก้ปัญหาจากการถูกคุมคามและล่วงละเมิดทางเพศของผู้หญิงจากนวนิยายในสังคมที่เปลี่ยนแปลง
ผลการศึกษาพบว่าเบื้องหลังที่นำไปสู่การถูกคุมคามและล่วงละเมิดทางเพศของผู้หญิงจากนวนิยายในสังคมที่เปลี่ยนแปลงมาจากการรู้จักมักคุ้น ความใกล้ชิดสนิทสนม ความเคารพเชื่อถือศรัทธา ส่วนการตกเป็นเหยื่อทางอารมณ์มาจากการตกเป็นเหยื่อทางอารมณ์ของชายแปลกหน้าและชายที่รู้จัก สำหรับเบื้องหลังที่มาจากการมีความสัมพันธ์กับบุคคลประเภทต่าง ๆ ได้แก่ บุคคลใกล้ชิดในครอบครัวบุคคลใกล้ชิดนอกครอบครัว บุคคลแปลกหน้า ส่วนเบื้องหลังที่มาจากสถานที่เกิดเหตุพบว่า เกิดขึ้นได้จากบ้านของตนเอง บ้านของผู้ประสงค์ร้าย สถานที่สาธารณะ จังหวะและโอกาสที่เหยื่ออยู่เพียงลำพังและเหยื่ออยู่ท่ามกลางผู้คนเป็นจำนวนมากในที่สาธารณะ ลักษณะการถูกคุมคามและล่วงละเมิดทางเพศ มีลักษณะเป็นการบังคับ กลั่นแกล้ง ติดตาม สัมผัสจับต้อง จ้องมอง แอบมอง วาจากล่าวร้าย ให้ดูอวัยวะเพศ และสำเร็จความใคร่ด้วยตนเอง มีการเลือกปฏิบัติ ให้ดื่มของมึนเมาเพื่อหวังมีเพศสัมพันธ์ ด้วยการมีสัมพันธ์ทางอวัยวะเพศ ผลกระทบทางร่างกาย โดยที่เหยื่อดิ้นรนต่อสู้จนเอาตัวรอดได้ และได้รับความรุนแรงทางเพศ จนมีอาการทางจิตภายหลังจากรอดชีวิต จากการแสร้งตาย หลายคนถูกซ้อมอย่างสาหัสและยอมจำนนกลายเป็นวัตถุทางเพศและเข้าสู่การเป็นหญิงบริการและบางรายตกเป็นทาสกาม ชีวิตไร้คุณค่า กลายเป็นคนชินชากับการมีเพศสัมพันธ์จนเป็นโรคซึมเศร้าและมีชีวิตอยู่ไปอย่างไม่มีเป้าหมายและเป็นคนสิ้นหวัง จนถึงกับฆ่าตัวตาย บ้างเป็นคนสำส่อนทางเพศและใช้เป็นเงื่อนไขแลกเปลี่ยนเพื่อผลประโยชน์ทางความสุขสบาย
References
คาริน สลอเตอร์. (2561). ตายในหน้าเธอ [Fractured]. (สายพิณ เลิศเพียรเชาวน์, แปล). กรุงเทพฯ: น้ำพุ.
_________. (2562). ศพไม่บริบูรณ์ [Undone]. (สายพิณ เลิศเพียรเชาวน์, แปล). กรุงเทพฯ: น้ำพุ.
คิมจินยอง. (2562). มีอะไรในสวนหลังบ้าน. (วิทยา จันทร์พันธ์, แปล). กรุงเทพฯ: แพรว.
จะเด็จ เชาวน์วิไล. (2562). ความเท่าเทียมของหญิงชาย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล.
เจ.ดี.รอบบ์. (2561). สายเลือดซ่อนเลือด [Kindred In Death]. (กานต์สิริ โรจนสุวรรณ, แปล). กรุงเทพฯ: น้ำพุ.
ชนะชัย อ๊อดทรัพย์. (2561). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุกคามทางเพศต่อนิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชานันท์ ยอดหงษ์. (2564). “ปิตาธิปไตย” กรอบที่ผู้ชายไม่รู้ตัว. นิตยสาร HUG, 13, 1: 69 -72.
โชนัมจู. (2561). คิมจียอง เกิดปี 82. (ตรองสิริ ทองคำใส, แปล). กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
ซงชีอู. (2562). ความลับในบ้านไลแลค. (ภัททิรา, แปล). กรุงเทพฯ: แพรว.
ณัฐิยา ศิรกรวิไล. (2562). วัยแสบสาแหรกขาด 2. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.
ณัฐกาญจน์ นาคนวล. (2556). “พันธกิจนักประพันธ์กับสังคมร่วมสมัยในนวนิยายของปิยะพร ศักดิ์เกษม”. วารสารมนุษยศาสตร์, 20, 1: 51-67.
เดวิด บอลแดคซี่. (2561). ผมใช้ความจำจับฆาตกร [Memory man]. (สรศักดิ์ สุบงกช, แปล). กรุงเทพฯ: น้ำพุ.
ทมยันตี. (2555). ล่า. กรุงเทพฯ: ณ บ้านวรรณกรรม.
เทสส์ เกอร์ริตเซ่น. (2562). ถือศีลฆ่า [The sinner]. (อาสยา ฐกัดกุล, แปล). กรุงเทพฯ: น้ำพุ.
นพวรรณ ปรากฏวงศ์. (2559). ทัศนของนักศึกษาต่อการคุกคามทางเพศในสถานศึกษา.
สารนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปราปต์. (2561). ลิงพาดกลอน. กรุงเทพฯ: แพรว.
มินะโตะ คะนะเอะ. (2561). เด็กสาว. (กนกวรรณ เกตุชัยมาศ, แปล). กรุงเทพฯ: แพรว.
มุกดา จินตนาวัฒน์. (2555). การคุกคามทางเพศในสถานที่ทำงาน : กรณีศึกษากลุ่มนักศึกษาฝึกงานของธุรกิจโรงแรมในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยาสึนาริ คาวาบาตะ. (2562). เหมันตคาม [Snow Country]. (แดนอรัญ แสงทอง, แปล). กรุงเทพฯ: สามัญชน.
รัชฎาภรณ์ ศรีรักษา. (2557). วาทกรรมการคุกคามทางเพศในชีวิตประจำวัน : การศึกษาวาทกรรมวิเคราะห์เชิงวิพากษ์. การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.
รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2559). ชวนอ่านชวนคิดพินิจวรรณกรรมร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สถาพร.
โล่เงิน. (2563). “ไทแคคปราบอาชญากรไซเบอร์ บิ๊กโต้งนำทีมไล่ล่าช่วยเหยื่อล่วงละเมิดทางโซเชียล”. มติชนสุดสัปดาห์, ฉบับวันที่ 13-19 มีนาคม 2563.
สมสรรค์ อธิเวสส์. (2557). “การคุกคามทางเพศบนสังคมเครือข่าย”. วารสารวิชาการ Veridian E-Journa. 7, 3(กันยายน – ธันวาคม): 901-916.
สิรินยา บิชอพ. (2564). “What woman wants.” นิตยสารแพรว. 42, 966: 98-107.
สุคนธ์ทิพย์ สิริพวาเกตุ. (2561). ตัวตนและผลกระทบต่อสตรีในวรรณกรรมที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ การล่วงละเมิดทางเพศ. การนำเสนอโครงการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงาน ระดับชาติของนักศึกษาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 1/2561.
สุชีลา ตันชัยนันท์. (2554). สองเราไม่เท่าเทียม. กรุงเทพฯ: เจี้ยนเทียนเจิน.
สุทัตตา พาหุมันโต. (2561). “เหยื่อการข่มขืน : ความรุนแรงและการเปลี่ยนแปลงของ ตัวละครหญิงในเดอะเซอร์เจียน”. วารสารมนุษยศาสตร์, 25, 2(กรกฎาคม-ธันวาคม 2561): 180-181.
หลินอี้หาน. (2562). สวนสนุกแห่งการลงทัณฑ์รักในฝันของฝางซือฉี. (อารยา เทพสถิตศิลป์ และเขมณัฏฐ์ ทรัพย์เกษมชัย, แปล). กรุงเทพฯ: แม็กซ์พับลิชชิ่ง.
อเล็กซ์ ไมเคิลลิดีส. (2562). ปมเลือดไม่เงียบ [The Silent Patient]. (วรินทร์ วารีนุกูล, แปล). กรุงเทพฯ: ยูนิคอร์น ซีเอ็ดยูเคชั่น.
อัมพร แจ่มสุวรรณ. (2559). นิติเวชคลินิก. ขอนแก่น : ภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อรสม สุทธิสาคร. (2559). ดอกไม้ใต้ภูเขาน้ำแข็ง. กรุงเทพฯ: สารคดี.
ฮิงาชิโนะ เคโงะ. (2562). หัวใจบรูตัสจัดฉากฆาต. (ทินภาส พาหะนิชย์, แปล). กรุงเทพฯ: เคคลาส.
เฮเธอร์ มอร์ริส. (2562). ช่างสักแห่งเอาซ์ [The Tattooist of Auschwitz]. (โสภณา เชาว์วิวัฒน์กุล, แปล). กรุงเทพฯ: แมร์รี่โกราวด์ พับลิชชิ่ง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.