พหุวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ : อิทธิพลที่มีต่อเรือนพื้นถิ่นในภาคเหนือของไทย
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพหุวัฒนธรรมของชนกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือ และอธิบายอิทธิพลของพหุวัฒนธรรมของชนกลุ่มชาติพันธุ์ในภาคเหนือต่อเรือนพื้นถิ่นดังกล่าว การศึกษาในครั้งนี้เป็นงานวิจัยเอกสาร โดยสืบค้นงานวิจัยอย่างเป็นระบบทั้งในและต่างประเทศที่ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างบ้านเรือนของชนกลุ่มน้อยในภาคเหนือของประเทศไทย ได้งานวิจัยจำนวนทั้งสิ้น 13 เรื่อง เป็นงานวิจัยในประเทศไทยจำนวน 7 เรื่อง และงานวิจัยในต่างประเทศจำนวน 6 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า 1) พหุวัฒนธรรมแบ่งเป็น 1.1) วิถีชีวิตของม้งเป็นครัวเรือนขยายขนาดใหญ่ มลาบรีพัฒนาจากนักล่าไปสู่เกษตรกร ไทยพวนและไทยลื้อใช้วัฒนธรรมต่อรองทางการเมืองและสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 1.2) ภาษาและจารีตประเพณีของชาวดาราอังที่ยังคงไว้ คือ ภาษา เครื่องแต่งกาย ตำนาน พิธีกรรม และการตั้งชื่อ 1.3) เชื้อชาติและอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ของชาวอาข่าและชาวเมี่ยน แทรกซึมในชีวิตประจำวันและมีความสัมพันธ์กับสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง และ 1.4) ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ที่ย้ายมาอยู่ในอำเภอแม่สอดมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่เริ่มจากความร่วมมือไปสู่การผสมกลมกลืนด้วยการสมรสและมีบุตรร่วมกัน มีการแบ่งแยกในเรื่องเขตที่อยู่อาศัย แต่ไม่แบ่งแยกเรื่องศาสนาและเพศ และ 2) อิทธิพลของพหุวัฒนธรรมของชนกลุ่มน้อยในภาคเหนือต่อเรือนพื้นถิ่น พบว่า ปัจจัยต่อการรักษาเอกลักษณ์เรือนพื้นถิ่นให้คงเดิม คือ สังคมเกษตรกรรม ลักษณะครอบครัวขยาย และความเชื่อ ปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงเรือนพื้นถิ่น คือ ยุคสมัยใหม่และสภาพสังคม และปัจจัยภายใน ได้แก่ การเลือกพื้นที่ตั้งเรือน ผู้นำทางจิตวิญญาณ การเปลี่ยนศาสนา และการสมรส ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ใช้สอยภายในเรือนพื้นถิ่นคือลักษณะสถาปัตยกรรมและวิถีชีวิต
References
กรด เหล็กสมบูรณ์. (2559). “การเคลื่อนย้ายและการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มชาติพันธุ์ไทขึนในประเทศไทย”. Veridian E-Journal, Silpakorn University: International (Humanities, Social Sciences and Arts), 9, 5: 289-299.
โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ. (2547) รายงานพัฒนาคน เสรีภาพทางวัฒนธรรม ในโลกที่หลากหลายวันนี้. กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.
จีรพันธ์ จันทร์แดง และระวิวรรณ โอฬารรัตน์มณี. (2559). “จากนอกสู่ใน : ลักษณะของเรือนและที่ว่างในเรือนไทลื้อในเมืองล่าสิบสองปันนา”. เจ-ดี: วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม, 3, 2: 101-121.
ชวดี โกศล. (2561). “การบริหารจัดการทุนทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ในเขตพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทย”. วารสารนวัตกรรมการบริหารและการจัดการ, 6, 2: 64-73.
ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์. (2557). “การจัดการศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรมสำหรับเด็กชนเผ่า โรงเรียนประถมศึกษาพื้นที่ชายขอบภาคเหนือ”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 6, 1: 7-14.
ชูพงษ์ ทองคำสมุทร. (2554). “สาระสำคัญเชิงวิทยาศาสตร์ในคติความเชื่อฮวงจุ้ย”. วารสารวิชาการ คณะสถาแตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10, 1.
พนาภรณ์ ศรีมูล และเกรียงไกร เกิดศิริ. (2554). “สถาปัตยกรรมพื้นถิ่นชาวอาข่า หมู่บ้านเหมืองแร่ ต.แม่คะ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่”. หน้าจั่ว : ว่าด้วยสถาปัตยกรรมการออกแบบ และสภาพแวดล้อม วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 26: 179-199.
แพร ศิริศักดิ์ดำเกิง. (2549). แนวคิดพหุวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
ไพรินทร์ มากเจริญ. (2551). ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของกลุ่มชาติพันธุ์บริเวณชายแดน: กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาล อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิมลสิทธิ์ หรยางกูร. (2554). จิตวิทยาสภาพแวดล้อม : มูลฐานการสร้างสรรค์และจัดการสภาพแวดล้อมน่าอยู่อาศัย. กรุงเทพฯ: จี.บี.พี เซ็นเตอร์.
วัชรินทร์ จินต์วุฒิ. (2558). “คติความเชื่อ : แกนหลักในการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมเรือนพื้นถิ่นกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ กรณีศึกษาดอยมูเซอ จังหวัดตาก”. หน้าจั่ว: ว่าด้วยสถาปัตยกรรมการออกแบบและสภาพแวดล้อม วารสารวิชาการประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 29 (มกราคม-ธันวาคม 2558) : 177-189.
สดานุ สุขเกษม. (2562). เรียนรู้จากการซ่อมสร้างชุมชนกระเหรี่ยงบางกลอย. กรุงเทพฯ: สำนักสื่อสารจัดการความรู้และนวัตกรรมชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน องค์การมหาชน.
สมใจ นิ่มเล็ก. (2536). เรือนเครื่องผูก. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
สุมาลี สังข์ศรี. (2550). ภูมิปัญญาไทยกับการส่งเสริมการเรียนรู้และการสร้างอาชีพ. กรุงเทพฯ: กลุ่มพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้ สำนักมาตรฐานการศึกษาและพัฒนาการเรียนรู้ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อมรรัตน์ เทพกำปนาท. (2548). ความหมาย แนวคิดและประเด็นที่เกี่ยวกับ “วัฒนธรรม”. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.
อภิญญา เฟื่องสกุล. (2546). อัตลักษณ์ : การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด = Identity. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติ สาขาสังคมวิทยา สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.
อานันท์ กาญจนพันธ์. (2553). อัตลักษณ์ : ทฤษฏีและวิธีวิทยาของการวิจัยวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
อุฬาร ปัญจะเรือง. (2558). ปัจจัยการก่อรูปและรูปแบบของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นผู้ลี้ภัยกะเหรี่ยงปกาเกอะญอในพื้นที่พักพิงชั่วคราวแม่หละ. ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2540). ภูมิปัญญาชาวบ้านสี่ภูมิภาค : วิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้านไทย. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Deepadung, S. (2009). “Ethnicity and the Dara-ang (Palaung) in Thailand”. Journal of Language and Culture, 28, 1: 7-7.
Jonsson, H. (2001). “Does the house hold? History and the shape of Mien (Yao) society”. Ethnohistory, 48, 4: 613-654.
Kunstadter, P. (1985). “Health of Hmong in Thailand: risk factors, morbidity and mortality in comparison with other ethnic groups”. Culture, medicine and psychiatry, 9, 4: 329-351.
Kutanan, W., Kampuansai, J., Fuselli, S., Nakbunlung, S., Seielstad, M., Bertorelle, G., & Kangwanpong, D. (2011). “Genetic structure of the Mon-Khmer speaking groups and their affinity to the neighbouring Tai populations in Northern Thailand”. BMC genetics, 12, 1: 1-9.
Na Nan, S. (2007). “Resources, power and identities of a hunting-gathering society. Revisiting the Mlabri ethnic group in Northern Thailand”. Aséanie, Sciences humaines en Asie du Sud-Est, 20, 1: 103-122.
Nimonjiya Shu. (2013). “From ‘Ghosts’ to ‘Hill Tribe’ to Thai Citizens. Towards a History of the Mlabri of Northern Thailand”. Aséanie, 32: 155-176.
Tooker, D. E. (2004). “Modular modern: Shifting forms of collective identity among the Akha of Northern Thailand”. Anthropological quarterly, 243-288.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.