การพัฒนาทักษะทางสังคม โดยใช้กิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติของผู้เรียนระดับชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา
คำสำคัญ:
การเล่นบทบาทสมมติ, ทักษะทางสังคมบทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางสังคมของนักเรียนอนุบาลก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติ กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลศึกษา ปีที่ 2/1 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศศึกษา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 25 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการวิจัยพบว่า
ทักษะทางสังคมด้านการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นและทักษะทางสังคมด้านการมีส่วนร่วมกับผู้อื่นของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2/1 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศึกษา หลังการจัดกิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติ สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กิ่งทอง วงศ์ชัย. (2553). การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ โดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 สิงหาคม 2564. เข้าถึงจาก https://www.gotoknow.org/posts/396167
ขนิษฐา บุนนาค. (2561). การเล่นบทบาทสมมติ (Role Playing) กิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2564. เข้าถึงจากhttps://www.youngciety.com/article/learning/role-playing.html
จรีลักษณ์ รัตนาพันธ์. (2557). ทักษะทางสังคม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2564. เข้าถึงจาก http://jareeluk.blogspot.com/2014/09/blog-post_27.html.
สรารัตน์ ฝากไธสง และปยะนันท หิรัณยชโลทร. (2563). “ผลการจัดกิจกรรมการเล่นบทบาทสมมติที่มีต่อการตระหนักรู้ในตนเองของเด็กปฐมวัย”. วารสารวิจัยราชภัฏกรุงเก่า, 7, 1: 25 – 32
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2560). หลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กระทรวงศึกษาธิการ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.