การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม (AR BOOK) เรื่อง วิวัฒนาการนาฏศิลป์การละครไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
คำสำคัญ:
สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม, วิวัฒนาการนาฏศิลป์การละครไทยบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม (AR BOOK) เรื่อง วิวัฒนาการนาฏศิลป์การละครไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อ AR BOOK เรื่อง วิวัฒนาการนาฏศิลป์การละครไทย 2) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนเรื่อง วิวัฒนาการนาฏศิลป์การละครไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง 3) เพื่อเปรียบเทียบผลคะแนนหลังเรียนของกลุ่มทดลองเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ผลการวิจัย พบว่า
1) ผลการประเมินสื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม (AR BOOK) เรื่อง วิวัฒนาการนาฏศิลป์การละครไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีผลรวมค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 4.71 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.46 โดยมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
2) ผลการทดสอบคะแนนหลังเรียนเรื่อง วิวัฒนาการนาฏศิลป์การละครไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง พบว่า การเรียนการสอนโดยใช้สื่อเทคโนโลยีความจริงเสริม (AR BOOK) เรื่อง วิวัฒนาการนาฏศิลป์การละครไทยของกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงกว่าการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบปกติของกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3) ผลการทดสอบคะแนนหลังเรียนของกลุ่มทดลองเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ ร้อยละ 70 พบว่า ผลคะแนนทดสอบหลังเรียนของกลุ่มทดลองมีค่าตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
จรินทร อุ่มไกร และไกยสิทธิ์ อภิระติง. (2562). “การพัฒนาสื่อดิจิทัลร่วมกับเทคโนโลยีความจริงเสริมโดยอาศัยการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ในรายวิชาคอมพิวเตอร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6”. วารสารโครงงานวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. 5, 2: 18-27.
จันทวรรณ ปิยะวัฒน์. (2555). ปัญหาเทคโนโลยีทางการศึกษา. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2564. เข้าถึงจาก http://www.gotoknow.org/posts/510530
พัชรินทร์ บุญสมธป. (2561). “การสร้างความสนใจในชั้นเรียนด้วยเทคโนโลยีความจริงเสริม”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 38, 1: 98-109.
วศกร เพ็ชรช่วย. (2557). อุปราคา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 การพัฒนาสื่อความจริงเสมือนบนเอกสารประกอบการเรียน. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สุนทรี มนตรีศรี และทะนงศักดิ์ โสวจัสสตากุล. (2562). “การพัฒนาสื่อเทคโนโลยีเสมือนจริง เรื่อง สร้างงานแอนิเมชั่น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5”. วารสาร ครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 18, 2: 0040-47.
โสมพร วงษ์พรหม. (2558). การพัฒนาผลการเรียนรู้ เรื่อง รอบรู้นาฏศิลป์ไทยและการจัดระบบความคิดด้วยผังลำดับเวลาของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่จัดการเรียนรู้แบบสืบสวนสอบสวน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการนิเทศภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อเนก พุทธิเดช, กานต์พิชชา แตงอ่อน และวาฤทธิ์ กันแก้ว. (2561). วิจัยพัฒนาบทเรียนเรื่องการประยุกต์ปริพันธ์จำกัดเขต โดยประยุกต์ใช้เทคนิคความจริงเสริมบนโทรศัพท์เคลื่อนที่สมาร์ทโฟน. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
เอกรัฐ หล่อพิเชียร. (2560). การใช้สื่อการเรียนรู้ความเป็นจริงเสริม (Augmented Realty) เรื่องโปรโตคอล TCP/P เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา วิชาการสื่อสารข้อมูล และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศการศึกษา คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. (รายงานการวิจัย). ปทุมธานี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.