การพัฒนาแบบฝึกทักษะการร้องร่าย สำหรับขับร้อง ประกอบการแสดงโขน-ละคร รายวิชาทักษะดนตรีไทย 1 ของนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
-
คำสำคัญ:
แบบฝึกทักษะ, การร้องร่าย, การขับร้องประกอบการแสดงโขน-ละครบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบฝึกทักษะการร้องร่ายสำหรับขับร้องประกอบการแสดงโขน-ละคร 2) หาดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการร้องร่าย สำหรับ ขับร้องประกอบการแสดง โขน-ละคร 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียน และหลังเรียน 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะการร้องร่ายสำหรับขับร้องประกอบการแสดงโขน-ละคร ประชากร คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1-4 วิชาเอกคีตศิลป์ไทย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยนาฏศิลป ทั้ง 12 แห่ง จำนวน 32 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา วิชาเอกคีตศิลป์ไทย ชั้นปีที่ 2 ของวิทยาลัยนาฏศิลป ทั้ง 12 แห่ง จำนวน 16 คน โดยใช้การสุ่มแบบง่ายเครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ การร้องร่าย สำหรับขับร้องประกอบการแสดงโขน-ละคร และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบวัดความพึงพอใจของนักศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะการร้องร่าย สำหรับขับร้องประกอบการแสดงโขน-ละคร มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.00/85.56 2) ดัชนีประสิทธิผลของแบบฝึกทักษะการร้องร่าย มีค่าเท่ากับ 0.72, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนแตกต่างจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 4) ความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยแบบฝึกทักษะ อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.39, S.D. = 0.99)
References
นพพงษ์ วงษ์จำปา. (2548). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากบทเรียนผ่านเว็บ วิชาดนตรีเรื่องการอ่านโน้ตสากล กับการสอนปกติ ของนักศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิตยา เต็งประสริฐ. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติ ชุดระบำไก่ วิชาดนตรี-นาฏศิลป์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการทางสถิติสำหรับงานวิจัย เล่ม 1. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.
ปิยะวรรณ กันภัย. (2558). ผลการเรียนรู้แบบผสมผสานตามแนวคิดของกาเย่ เรื่องคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
พิเชฐ คูชลธารา. (2557). การพัฒนารูปแบบผสมผสานและการเรียนรู้แบบยืดหยุ่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ศิริวรรณ แก้วจรัญ. (2561). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). มปท.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.