นาฏยประดิษฐ์ ชุด สี่กษัตริย์ทรงเครื่อง

-

ผู้แต่ง

  • ณรงค์ฤทธิ์ เชาว์กรรม คณะศิลปนาฏดุริยางค์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

สี่กษัตริย์, เวสสันดร, นาฏยประดิษฐ์

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างสรรค์และประเมินคุณภาพผลงานนาฏยประดิษฐ์ ชุด สี่กษัตริย์ทรงเครื่อง ดำเนินการสร้างสรรค์ด้วยการศึกษาข้อมูลพื้นฐาน แนวคิด ทฤษฎี การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลนำสู่กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน

               ผลการศึกษาพบว่า การสร้างสรรค์นาฏยประดิษฐ์ ชุด สี่กษัตริย์ทรงเครื่อง ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ 1) สร้างแนวคิดการแสดงจากการทรงเครื่องแบบพระมหากษัตริย์เสด็จนิวัติกลับพระนครของพระเวสสันดร พระนางมัทรี พระชาลี และพระกัณหาในมหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ที่ 13 กัณฑ์นครกัณฑ์สู่การสร้างสรรค์รูปแบบการแสดงรำทรงเครื่องของตัวละคร 4 บทบาทตามแนวทางละครชาตรี 2) สร้างสรรค์บทร้องขึ้นใหม่จากเค้าเรื่องมหาเวสสันดรชาดกกัณฑ์นครกัณฑ์ 3) ผู้แสดง 4 คน คือ ชาย 2 คน หญิง 2 คน 4) ออกแบบกระบวนท่ารำ 4 ประการ คือ (1) หลักท่ารำตามแบบแผนรำทรงเครื่อง (2) หลักการตีบทผสมผสานท่าทางธรรมชาติ (3) หลักการตามจินตนาการ (4) หลักการสร้างสรรค์กระบวนท่ารำใหม่ ท่ารำทั้งหมดนำมาร้อยเรียงตามบทร้องและทำนองเพลงอย่างสวยงามเป็นเอกภาพ 5) ออกแบบแต่งกายยืนเครื่องอย่างเบา โดยได้รับแรงบันดาลใจจากภาพจิตรกรรมฝาผนัง พระเวสสันดรชาดก พระอุโบสถวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร 6) สร้างสรรค์ฉากประกอบการแสดงด้วยเทคนิคกรีนสกรีน และ 7) เผยแพร่การแสดงสู่สาธารณชนทั้งรูปแบบการแสดงบนเวทีและผ่านระบบออนไลน์

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2541). การศึกษาสื่อมวลชนด้วยทฤษฎีวิพากษ์. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

กรมศิลปากร. (2550). คุณธรรม จริยธรรมตามรอยพระโพธิสัตว์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

ขวัญใจ คงถาวร. (2558). “นาฏยประดิษฐ์ลงสรงโทนสุหรานากง : นาฏยจารีตแบบหลวง”. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 7, 3: 32-42.

ชมนาด กิจขันธ์. (2555). รำหน้าพาทย์ชั้นสูง. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: นาเพรส.

ณัฏฐนันท์ จันนินวงศ์. (2557). แนวคิดการออกแบบลีลาท่ารำนาฏยศิลป์ไทยของอาจารย์สุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2533. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชานาฏยศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระ. (2543). ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ: มหามกุฏราชวิทยาลัย.

ธณาวุฒิ อ้นวงษ์. (2564). “แนวคิดการประดิษฐ์ท่ารำเพลงหน้าพาทย์เสมอของตัวลิง”. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 5, 2: 297-310.

นิติพงษ์ ทับทิมหิน. (2553). การรำหน้าพาทย์เพลงเสมอในละครพันทาง. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระพรหมคุณากรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระราชวิจิตรปฏิภาณ. (2550). สมุดภาพพระมหาเวสสันดร : ฉบับจิตรกรรมภาพไทย เรื่องราวในอดีตชาติของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งทรงบำเพ็ญทานบารมี. กรุงเทพฯ: ธรรมสภา.

พระสมพงษ์ ชินวํโส, พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ และขันทอง วัฒนะประดิษฐ์ . (2561). “การประยุกต์ใช้หลักพุทธสันติวิธี เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมของพระวิทยากรวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ”. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6, 1 (ฉบับพิเศษ): 119-133.

มติชน. (2546). ละครฟ้อนรำ ประชุม เรื่องละครฟ้อนรำกับระบำรำเต้น ตำราฟ้อนรำ ตำนานเรื่องละครอิเหนา ตำนานละครดึกดำบรรพ์ พระนิพนธ์ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. กรุงทพฯ: สำนักพิมพ์มติชน.

สุรพล วิรุฬห์รักษ์. (2547). หลักการแสดงนาฏยศิลป์ปริทรรศน์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรรถวิทย์ สุดแสง, นที นิภานันท์ และณัฐพงศ์ ชินธเนส. (2560). อุปกรณ์สำหรับการแยกฉากหลังโดยพิจารณาค่าสีแบบทันทีด้วยอุปกรณ์รับรู้ความลึก. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพมหานคร: กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ (สำนักงาน กสทช.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-27

ฉบับ

บท

บทความงานสร้างสรรค์