องค์ความรู้ปราชญ์ดุริยางคศิลปิน: ครูอำนาจ นุ่นเอียด
-
คำสำคัญ:
องค์ความรู้, รูปแบบการฝึกเป่าปี่, การสร้างสรรค์, ครูอำนาจ นุ่นเอียดบทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่อง องค์ความรู้ปราชญ์ดุริยางคศิลปิน: ครูอำนาจ นุ่นเอียด มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประวัติ ผลงาน รูปแบบการฝึกเป่าปี่พื้นบ้านภาคใต้ และแนวทางสร้างสรรค์ดนตรีชุด นาฏตะลุงหลุง ด้วยกระบวนการจัดเก็บองค์ความรู้จากปราชญ์ศิลปินผลการศึกษาพบว่า ครูอำนาจ นุ่นเอียด เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2494 ปัจจุบันอายุ 71 ปี (2565) เริ่มเรียนปี่พื้นบ้านภาคใต้ เมื่ออายุ 15 ปี มีความรู้และสามารถบรรเลงดนตรีประกอบการแสดงโนรา หนังตะลุง นาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้แนวสร้างสรรค์ และบรรเลงเพลงพื้นบ้านภาคใต้ได้ไม่ต่ำกว่า 300 เพลง ผลงานด้านดนตรี ได้แก่ การสร้างสรรค์ทำนองเพลงประกอบชุดการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านภาคใต้ เรียบเรียงดนตรีประกอบการแสดงโนราและหนังตะลุง บันทึกแผ่นเสียงดนตรีหนังตะลุงและเพลงปี่พื้นบ้านภาคใต้สำเนียงเพลงลูกทุ่ง รูปแบบการฝึกเป่าปี่พื้นบ้านภาคใต้ของครูอำนาจ นุ่นเอียด มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ การฝึกท่านั่ง การฝึกจับเลาปี่ การฝึกอมลิ้นปี่ การแบ่งระดับช่วงเสียง และการฝึกไล่เสียง ครูมีการแบ่งระดับช่วงเสียงปี่ออกเป็น 4 ช่วงเสียง คือเสียงต่ำ เสียงกลาง เสียงสูง และเสียงลูกยิ่ว แนวทางสร้างสรรค์ดนตรีประกอบการแสดงชุด นาฏตะลุงหลุง ของครูอำนาจ นุ่นเอียด มีหลักและวิธีการปฏิบัติที่เป็นรูปแบบเฉพาะตน โดยทำการศึกษาข้อมูลพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับชุดการแสดง เพื่อนำมาใช้พิจารณาบริบททางดนตรี รูปแบบดนตรีที่สร้างสรรค์มีท่วงทำนองเพลงสั้น ๆ ไม่สลับซับซ้อน องค์ประกอบดนตรีที่ใช้สร้างสรรค์บทเพลง ได้แก่ ระดับเสียงปี่ อัตราความเร็ว จังหวะหน้าทับ และอารมณ์เพลง
References
วราลี ศรีทอง. (2544). การถ่ายทอดดนตรีไทยของปราชญ์ชาวบ้านใน โรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ ในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อรวรรณ บรรจงศิลป. (2537). งานวิจัยด้านวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.