กลองไชยมงคล: การเปรียบเทียบหลักการเรียนรู้ของพ่อครูมานพ ยาระณะ ปราชญ์พื้นบ้านล้านนา และทฤษฎีทางการศึกษาของ Benjamin Bloom

-

ผู้แต่ง

  • ปทุมทิพย์ กาวิล วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

กลองไชยมงคล, หลักการเรียนรู้, พ่อครูมานพ ยาระณะ, เบนจามิน บลูม

บทคัดย่อ

               บทความวิชาการฉบับนี้ นำเสนอการเปรียบเทียบ หลักการเรียนรู้ทักษะการตีกลองไชยมงคล ของปราชญ์พื้นบ้านล้านนา คือ พ่อครูมานพ ยาระณะ ผู้ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ช่างฟ้อน) ประจำปี พ.ศ. 2548 และหลักการเรียนรู้ของ เบนจามิน บลูม นักทฤษฎีการศึกษา ซึ่งแนวความคิดในการสอนทั้งสองแนวคิดพบว่า หลักการเรียนรู้ของพ่อครูมานพ ยาระณะ มี 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 การรับเป็นศิษย์ สอดคล้องกับทฤษฎีการศึกษาของบลูม ด้านจิตพิสัย ขั้นที่ 2 การฝึกปฏิบัติเบื้องต้นหรือขั้นสอนของพ่อครูมานพ ยาระณะ สอดคล้องกับด้านพุทธพิสัยของบลูม และหลักการเรียนรู้ ขั้นที่ 3 การนำไปใช้หรือการพัฒนาทักษะไปสู่การปฏิบัติขั้นสูง สอดคล้องกับทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูมในด้านทักษะพิสัย ความแตกต่างระหว่างหลักการเรียนรู้ของพ่อครูมานพ ยาระณะ กับทฤษฎีทางการศึกษาของเบนจามิน บลูม พบว่า มิติของการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมของพ่อครูมานพ ยาระณะ นั้น เมื่อผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีการนำไปต่อยอด ขยายผล สร้างสรรค์ สืบทอดองค์ความรู้ส่งต่อกันไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ส่วนด้านหลักการศึกษาของเบนจามิน บลูม สิ้นสุดลงหลังการประเมินผลหรือการรับวุฒิบัตรทางการศึกษา 

References

ดิษฐ์ โพธิยารมย์. (2553). องค์ความรู้ศิลปินแห่งชาติ:นายมานพ ยาระณะ. กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

________. (2551). กระบวนการถ่ายทอดความรู้ด้านการแสดงกลองไชยมงคล กรณีศึกษา: พ่อครูมานพ ยาระณะ. เชียงใหม่: วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่.

ทิศนา แขมมณี. 2547. ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์.

มัณฑรา ธรรมบุศย์. (2559). ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดค์. พระนครศรีอยุธยา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย

รัฐธนันท์ สุกุลโชคเศรษฐี. (2560). การศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อการสืบทอดการตีกลอง ชัยมงคล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ดนตรีศึกษา) บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยมหิดล.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 : เฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: หนานมีบุ๊คพับลิเคชั่นส์.

สมชาย รัตนทองคำ. (2556). ทฤษฎีการเรียนรู้ของนักการศึกษาที่มักถูกนำมาใช้พัฒนาการเรียนการสอน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 30 กันยายน 2564. เข้าถึงจาก https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/56web/4learn_edu56.pdf

Sawadee.wiki. (2564). เบนจามิน บลูม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2564. เข้าถึงจาก https://sawadee.wiki/wiki/Benjamin_Bloom

Sirikanya. (2557). ทฤษฎีการเรียนรู้ของบลูม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564. เข้าถึงจาก https://926.wordpress.com/2014/01/18

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-30