กลยุทธ์การพัฒนาวิทยาลัยนาฏศิลปสู่ความเป็นเลิศ
คำสำคัญ:
กลยุทธ์การพัฒนา, การพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ, วิทยาลัยนาฏศิลปฯบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนากลยุทธ์ในการพัฒนาสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน มีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาและวิเคราะห์บริบทการบริหารจัดการ 2) การพัฒนาดัชนีชี้วัดสู่ความเป็นเลิศ 3) การพัฒนากลยุทธ์สู่ความเป็นเลิศ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าภาควิชา และผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ของวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ วิทยาลัยนาฏศิลปลพบุรี วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ และวิทยาลัยนาฏศิลปพัทลุง จำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบวิเคราะห์ SWOT แบบแสดงความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และแบบตรวจสอบยุทธศาสตร์
จากการศึกษาบริบทและดัชนีชี้วัดความเป็นเลิศของวิทยาลัยนาฏศิลป มี 5 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และด้านผลลัพธ์ โดยกลยุทธ์การพัฒนาวิทยาลัยนาฏศิลป สู่ความเป็นเลิศ มี 7 กลยุทธ์ ดังนี้ 1) พัฒนาระบบการนำองค์กรด้านวิชาการและวิชาชีพ 2) สร้างเครือข่ายด้านวิชาการและวิชาชีพ 3) สร้างวัฒนธรรมการวิจัย 4) ศูนย์กลางด้านนาฏศิลป์ ดนตรี คีตศิลป์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น 5) การบริการวิชาการแก่สังคม 6) องค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านนาฏศิลป์ ดนตรี และคีตศิลป์ และ 7) ผลิตครูและศิลปินด้านนาฏศิลป์ ดนตรีและคีตศิลป์ ที่มีคุณภาพ
References
กนกรัตน์ มณีเนตรและคณะ (2562). “ศึกษากลยุทธ์การบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนเครือซาเลเซียน”. วารสารวิทยาลัยแสงธรรม, 13, 1: 107-125.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแหงชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
คณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2552). เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.
ชนิดา มิตรานันท์ และคณะ. (2551). แนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการของภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ทศพร ศิริสัมพันธ์. (2553) “การบริหารเชิงยุทธศาสตร์” การจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2564. เข้าถึงจาก http://www.stou.ac.th/knowledgemanagement.
วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2549). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นตรงของประสิทธิผล ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
วาสนา บุญญาพิทักษ์และคณะ. (2554). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารคุณภาพการศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศสำหรับสถาบันอุดมศึกษาที่จัดหลักสูตรสาขาดนตรีและนาฏศิลป์ไทย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต(บริหารการศึกษา) คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วาสนา เลิศมะเลา และเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธ์. (2561). “การพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”. วารสารรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 9, 2: 209-248.
วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่. (2551). รายงานการประเมินตนเองวิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ (SAR). เชียงใหม่: วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่
อภิญญา ขัดมะโน. (2551). การบริหารเพื่อความเป็นเลิศของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อำรุง จันทวาณิช. (2547). แนวทางการบริหารและการพัฒนาสถานศึกษาสู่โรงเรียนคุณภาพ : Guidelines on the Best Practice for Quality Schools. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิคจำกัด.
Deming, Edward W. (1995). Out of The Crisis. USA : The Massachusetts Institue of Technology. Center for Advanced Engineering Study. George, S. 1992.
Lawrie G.J.G. and Cobbold I.M. (2001). “Strategic Alignment: Cascading the Balanced Scorecard in aMulti-National company”; 2GC
Department of Education. (2017). School excellence framework. Retrieved from https://education.nsw.gov.au/policy-library/related- documents/school-excellenceframework-version-2.pdf.
Robert C. Camp. (1995). Business Process Benchmarking. ASQC Quality Press Certo, Samuel C. Modern Management. (2000). 8th ed. New Jersey: Prentice-Hall. Inc.
Shipe, D. A. (1998). A Case Study About Total Quality Management in A School District : From Selection To Reflection (Participatory Management, Continuous Improvement). Dissertation Abstracts International. Ed.D. University of Pittsburgh.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.