การใช้น้ำดินสีในการสร้างสรรค์งานเครื่องเคลือบดินเผา

-

ผู้แต่ง

  • เกษกานต์ ชูประดิษฐ์ วิทยาลัยช่างศิลป สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การเอนโกบ , เนื้อดินเอิร์ทเทนแวร์ , เนื้อสโตนแวร์ , เครื่องเคลือบดินเผา

บทคัดย่อ

               การใช้น้ำดินสีในการสร้างสรรค์งานเครื่องเคลือบดินเผา มีวัตถุประสงค์ของการศึกษาและสร้างสรรค์ 1) ศึกษาอัตราส่วนผสมของการทดลองน้ำดินสีและสารให้สีสำเร็จรูปที่เหมาะสม โดยทำการทดลองกับเนื้อดินเอิร์ทเทนแวร์และเนื้อดินสโตนแวร์ 2) สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผาชุด “สีสันสายฝน” โดยใช้เทคนิคการทาน้ำดินสีให้เกิดลวดลายและสีสัน    

               จากการศึกษาพบว่าการใช้วัตถุดิบ ได้แก่ ดินขาวและฟริต เป็นส่วนผสม นำไปทดสอบหาการยึดเกาะผิวดิน และหาตำแหน่งสูตรที่ดีที่สุด โดยใช้หลักการคำนวณแบบตารางสามเหลี่ยมด้านเท่า เผาด้วยเตาไฟฟ้า พบว่าสูตรที่ดี คือ จุดที่ 7 ของดินเอิร์ทเทนแวร์ และจุดที่ 2 ของดินสโตนแวร์ จากนั้นเติมสารให้สีสำเร็จรูป เพื่อไล่ค่าน้ำหนักอ่อนเข้ม เผาทดลองที่อุณหภูมิ 1,100 องศาเซลเซียส และ 1,200 องศาเซลเซียส และนำสีที่ได้มาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงาน ประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผาชุด “สีสันสายฝน” โดยได้รับแรงบันดาลใจจากความประทับใจในธรรมชาติที่มีการพึ่งพาอิงอาศัย แสดงออกถึงความงามอย่างเรียบง่ายไม่ซับซ้อนด้วยการใช้สัญลักษณ์อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน จำนวน 1 ชุด ประกอบด้วยผลงาน 2 ชิ้น

References

ธาตรี เมืองแก้ว. (2561). การพัฒนาน้ำดินสีเพื่อใช้ในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผาราชบุรี. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 11, 2: 2414 - 2430.

พิพัฒน์ จิตรอารีย์รักษ์. (2555). ประวัติศาสตร์เซรามิกส์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ไพจิตร อิ่งศิริวัฒน์. (2541). เนื้อดินเซรามิก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

_________ (2547). รวมสูตรเคลือบเซรามิกส์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สำนักพิมพ์คติ. (2554). เครื่องปั้นดินเผา. กรุงเทพฯ: พิมพ์ดี.

สุขุมาล สาระเกษตริน. (2564). เครื่องปั้นดินเผาการออกแบบและการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-01-30