การพัฒนาทักษะการปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ ของนักศึกษาปริญญาตรี ปีที่ 1 สาขานาฏศิลป์ไทย ด้วยวิธีการสอนเสริม

-

ผู้แต่ง

  • ธนาพงษ์ พรหมทัศน์ วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ, นักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 1 สาขานาฏศิลป์, การสอนเสริม

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขานาฏศิลป์ไทย ด้วยวิธีการสอนเสริม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาเอกนาฏศิลป์ จำนวน 5 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจงจากนักศึกษาที่มีปัญหาในการปฏิบัติขลุ่ยเพียงออ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ และแบบทดสอบทักษะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ร้อยละ และค่าเฉลี่ยเลขคณิต ผลการวิจัย พบว่า ทักษะการปฏิบัติขลุ่ยเพียงออของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขานาฏศิลป์ไทย ภายหลังการพัฒนาด้วยวิธีการสอนเสริมสูงกว่าก่อนการพัฒนาด้วยวิธีการสอนเสริม โดยผลการปฏิบัติ ขลุ่ยเพียงออก่อนการพัฒนาด้วยวิธีการสอนเสริม ผู้เรียนมีผลการปฏิบัติขลุ่ยเพียงออในภาพรวม 0.4 คะแนน (ร้อยละ 8) ไม่ผ่านเกณฑ์ และผลการพัฒนาทักษะการปฏิบัติขลุ่ยเพียงออของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 สาขานาฏศิลป์ไทย ภายหลังการสอนเสริม ตามวงจรการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน (PAOR) ต่อเนื่องกันครบ 2 วงจร พบว่า ผู้เรียนมีผลการปฏิบัติขลุ่ยเพียงออในภาพรวม 4.2 คะแนน (ร้อยละ 84) ผ่านเกณฑ์อยู่ในระดับดี

References

ณรุทธิ์ สุทธจิตต์. (2534). จิตวิทยาการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: หน่วยเอกสารคำสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธวัช รัตนมนตรี. (2534). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาทฤษฎีดนตรีสากล 1 ของนักศึกษาเอกดนตรีระหว่างการสอนเสริมด้วยบทเรียนไมโครคอมพิวเตอรกับการสอนปกติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

มนตรี ตราโมท. (2527). โสมส่องแสง: ชีวิตดนตรีของมนตรี ตราโมท. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

ยุทธนา ทรัพย์เจริญ. (2560). “การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานวิชาดนตรีสากล เพื่อพัฒนาทักษะการปฏิบัติทางดนตรีและความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5”. วารสารบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 5, 3: 821-834.

วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง. (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิตสาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). อ่างทอง: วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง.

ศรียา นิยมธรรม และประภัสร นิยมธรรม. (2525). การสอนซ่อมเสริม (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สำนักบรรณสารการพัฒนา. (2539). พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรามหาภูมิพลอดุลยเดชฯ ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Kijkuakul, S. (2014). learning science directions for teachers in the 21St Century. Phetchabun: Juldiskarnpim. (in Thai)

Simpson, D. (1972). Teaching physical education: A system approach. Boston: Houghton Mufflin.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-19