เทคนิคสติ๊กเกอร์รูปลอกน้ำในงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผาร่วมสมัยความสมบูรณ์แห่งท้องทะเล

-

ผู้แต่ง

  • โอภาส นุชนิยม คณะศิลปวิจิตร สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ความสมบูรณ์แห่งท้องทะเล, สติ๊กเกอร์รูปลอกน้ำ, ประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผาร่วมสมัย

บทคัดย่อ

การใช้เทคนิคสติ๊กเกอร์รูปลอกน้ำในงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผา ร่วมสมัยความสมบูรณ์แห่งท้องทะเล มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อใช้เทคนิคสติ๊กเกอร์รูปลอกน้ำแทนการใช้เคลือบและสีทางเครื่องเคลือบดินเผา 2) เพื่อสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรม เครื่องเคลือบดินเผาร่วมสมัยความสมบูรณ์แห่งท้องทะเลเป็นการสะท้อนความสมบูรณ์ ใต้ท้องทะเล

ผลการสร้างสรรค์พบว่า การใช้เทคนิคสติ๊กเกอร์รูปลอกน้ำแทนการใช้เคลือบและสีทางเครื่องเคลือบดินเผา ส่งเสริมชิ้นงานให้เกิดความน่าสนใจ มีความโดดเด่นในกระบวนการคัดลอกลายเส้น สามารถทดสอบสีให้ได้เฉดสีถูกต้องตามความต้องการ สอดคล้องกับความต้องการในการนำเสนอความประทับใจในความสมบูรณ์แห่งท้องทะเลกับสัตว์ทะเลที่มีหลายสายพันธุ์อาศัยรวมกัน ผ่านการออกแบบลวดลายในการทำสติ๊กเกอร์รูปลอกน้ำ  ติดลวดลายบนชิ้นงานปั้น ผ่านการเผาอบสติ๊กเกอร์รูปลอกน้ำ เกิดเป็นผลงานประติมากรรมเครื่องเคลือบดินเผาร่วมสมัยความสมบูรณ์แห่งท้องทะเลเป็นการสะท้อนความสมบูรณ์ใต้ท้องทะเลที่สะท้อนแนวคิดอย่างลงตัว

References

ดนัย โตอมรพันธ์. (2554). “บันทึกความทรงจำ”. Veridian E-Journal SU, 4, 1: 245-260.

วีระจักร์ สุเอียนทรเมธี. (2552). “การศึกษาวิเคราะห์แบบลักษณ์ของรูปทรงผลิตภัณฑ์เซรามิกส์ในอุตสาหกรรมขนาดย่อม-จิ๋ว และความเป็นไปได้ในการพัฒนารูปทรงผลิตภัณฑ์เซรามิกส์”. วารสารศิลปกรรมสาร, 4, 1: 94-115.

สุขุมาล สาระเกษตริน. (2565). เซรามิคสร้างสรรค์การออกแบบและตกแต่ง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ 50 Press Printing.

Pinterest. (n.d.). Coral. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2564. เข้าถึงจาก https://www.pinterest.com/search/pins/?q=coral&rs=typed

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-04-19

ฉบับ

บท

บทความงานสร้างสรรค์