การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร ของนักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

-

ผู้แต่ง

  • จริยา ตะลังวิทย์ ภาควิชาการศึกษา คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ปรากฏการณ์เป็นฐาน, กิจกรรมการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาคุณภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร 2) ศึกษาผลการเรียนรู้หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร
3) ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร กลุ่มเป้าหมาย คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร 2) แบบทดสอบวัดผลการเรียนรู้หลังเรียนโดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัยพบว่า

  1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร มีคุณภาพระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19
  2. ผลการเรียนรู้หลังเรียนของกลุ่มเป้าหมายที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 24.18 และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.09 คิดเป็นร้อยละ 80.61 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 75
  3. นักศึกษามีความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46

References

คณะศิลปศึกษา. (2558). คู่มือฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพครูในสถานศึกษา. นครปฐม: สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (2564). การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน (Phenomenon-based Learning). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ตะวัน ไชยวรรณ และกุลธิดา นุกูลธรรม. (2564). “การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน : การเรียนรู้บูรณาการเพื่อส่งเสริมความรู้ของผู้เรียนในโลกแห่งความจริง”. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยวไลอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15, 2: 251-263.

เติมศักดิ์ คทวณิช. (2556). จิตวิทยาทั่วไป. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น

น้ำทิพย์ ตระกูลเมฆี. (2561). “การศึกษาปัจจัยการรับรู้ที่มีผลต่อการยอมรับการใช้ Kahoot ในการวัดประเมินผลระหว่างเรียน”. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13, 1: 116-127.

พงศธร มหาวิจิตร. (2560). “การประยุกต์ใช้แนวคิดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบเชิงรุกในรายวิชาการประถมศึกษาเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21”. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 42, 2: 73-90.

พัฒนา พรหมมณี, ยุพิน พิทยาวัฒนชัย และจีระศักดิ์ ทัพผา .(2563). “แนวคิดเกี่ยวกับความพึงพอใจและการสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในงาน”. วารสารวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.), 26, 2: 59-66.

ภูวดล วิริยะ. (2561). การนำเสนอกิจกรรมการเรียนการสอนเหตุการณ์โลกในยุคปัจจุบัน สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากรบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

วิไลภรณ์ ฤทธิคุปต์ และลำไย สีหามาตย์. (2565). “การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตบัณฑิตศึกษา”. วารสารราชพฤกษ์, 20, 1: 116-127.

อรพรรณ บุตรกตัญญู. (2561). “การเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานเพื่อการสร้างมุมมองแบบองค์รวมและการเข้าถึงโลกแห่งความเป็นจริงของผู้เรียน”. วารสารครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 46, 2: 348-365.

Fitz-Gibbon, K. (1987). How to design a program evaluation. Newbury Park: Sagh.

Osborn, D., Cutter, A., & Ullah, F. (2015). UNIVERSAL SUSTAINABLE DEVELOPMENT GOALS. [online]. Retrieved 12 October 2022. from https://sdgs.un.org/sites/default/files/publications/1684SF_-_SDG_Universality_Report_-_May_2015.pdf

Zhukov, T. (2015). Phenomenon-based Learning: What is PBL?. [online]. Retrieved 12 October 2022. from https://www.noodle.com/articles/phenomenon-based-learning-what-is-pbl

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-04