การสืบสรรค์วรรณคดีมรดกของไทยในบทละครเรื่อง “วัยมันพันธุ์อสูร”

-

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา คุ้ยเอี่ยม ภาควิชาศึกษาทั่วไป วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การสืบสรรค์, วรรณคดีมรดกไทย, ละครวัยมันพันธุ์อสูร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะการสืบสรรค์ตัวละครจากวรรณคดีมรดกของไทยในบทละครเรื่อง “วัยมันพันธุ์อสูร” โดยมีขอบเขตของการศึกษาจากบทละครโทรทัศน์เรื่องวัยมันพันธุ์อสูร ซึ่งมีการนำวรรณคดีมรดกของไทย เรื่องไกรทอง เรื่องคาวีและสังข์ศิลป์ชัย มาปรับใช้กับการสร้างสรรค์ผลงานดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า ผู้เขียนบทละครมีกลวิธีการนำวรรณคดีมรดกของไทยมาสืบสรรค์ในบทละคร 2 ลักษณะ คือ 1) การนำตัวละครจากวรรณคดีมรดกมาสืบทอดและปรับใช้ในตัวบทใหม่ 2) การนำเหตุการณ์จากวรรณคดีมรดกมาใช้ในตัวบทใหม่ ซึ่งลักษณะการสืบสรรค์ตัวละครจากวรรณคดีมรดกของไทยในละครดังกล่าว ช่วยเพิ่มสีสันและบทบาทใหม่ตามจินตนาการของผู้แต่ง โดยยังคงนำเรื่องราวและตัวละครในวรรณคดีมรดกมาเป็นพื้นฐานเพื่อต่อยอดทางความคิดและเสริมสร้างจินตนาการ ทำให้เห็นถึงมิติของการสืบทอดขนบทางวรรณศิลป์ที่มีพลวัตและการสืบสรรค์วรรณคดีมรดกของไทยในปัจจุบันอีกทางหนึ่ง

References

กรมศิลปากร. (2508). บทละครนอกเรื่องคาวีและสังข์ศิลป์ชัย พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. กรุงเทพฯ: คลังวิทยา.

ทรูไอดี. (2557). นท พูนไชยศรี ขึ้นแท่นผู้กำกับ พี่อ๊อด-มุมใหม่ ผลักดันเรื่องแรก วัยมันพันธุ์อสูร เปิดตัวเรตติ้งดี. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 1 มิถุนายน 2566. เข้าถึงจาก https://entertainment.trueid.net/detail/Ojabgk8lEBBX

นิตยา แก้วคัลณา. (2556). สืบสรรค์ขนบวรรณศิลป์: การสร้างสุนทรียภาพในกวีนิพนธ์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

บริษัท มุมใหม่ จำกัด. (2557). บทละครโทรทัศน์เรื่องวัยมันพันธุ์อสูร บทประพันธ์และบทโทรทัศน์ โดย ทียา. นนทบุรี: บริษัท มุมใหม่ จำกัด.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2548). “การสืบทอดวรรณคดีมรดกในวรรณกรรมเยาวชนร่วมสมัยของไทย”. วารสารราชบัณฑิตยสถาน, 30, 4: 1078-1090.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-06