การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการปฏิบัติฆ้องวงใหญ่เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง สำหรับนักศึกษาภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

-

ผู้แต่ง

  • สุพัตรา วิไลลักษณ์ ภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

คำสำคัญ:

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง, การปฏิบัติฆ้องวงใหญ่

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และทดลอง ใช้หลักสูตรฝึกอบรมการปฏิบัติฆ้องวงใหญ่เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง สำหรับนักศึกษาภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยมีขั้นตอนการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การพัฒนาหลักสูตร 3) การทดลองใช้หลักสูตร และ 4) การประเมินผลหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า

1. หลักสูตรฝึกอบรมการปฏิบัติฆ้องวงใหญ่เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง สำหรับนักศึกษาภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย สภาพปัญหาและความจำเป็น หลักการของหลักสูตร เป้าหมายของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร กิจกรรมและระยะเวลา สื่อการฝึกอบรม ผู้เข้ารับการฝึกอบรม แนวทางการฝึกอบรม และการประเมินผลและเครื่องมือที่ใช้ โดยผลการประเมินความเหมาะสมความสอดคล้องของโครงร่างหลักสูตร และประเมินความเที่ยงตรงของเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรม พบว่า ทุกองค์ประกอบของหลักสูตรมีความเหมาะสม สอดคล้องกัน รวมทั้งเครื่องมือที่ใช้ ในการประเมินผลมีความเหมาะสมเที่ยงตรง

2. ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมการปฏิบัติฆ้องวงใหญ่เพลงพระอาทิตย์ชิงดวง สำหรับนักศึกษาภาควิชาดนตรีไทย วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ บ้านสมเด็จเจ้าพระยาพบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะการปฏิบัติฆ้องวงใหญ่เพิ่มขึ้นหลังจากการเข้ารับการฝึกอบรม โดยผลการประเมินทักษะหลังการฝึกอบรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรฝึกอบรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\dpi{100}&space;\bg_white&space;\fn_cm&space;\large&space;\dpi{100}&space;\bg_white&space;\fn_cm&space;{\bar{x}}= 4.41, S.D. = 0.52) รวมทั้ง มีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\dpi{100}&space;\bg_white&space;\fn_cm&space;\large&space;\dpi{100}&space;\bg_white&space;\fn_cm&space;{\bar{x}}= 4.65, S.D. = 0.47)

References

กำพล เนตรเชย. (2544). การศึกษาประสิทธิภาพของชุดการฝึกปฏิบัติฆ้องวงใหญ่ เรื่อง เพลงต้นเพลงฉิ่ง 2 ชั้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี มหาวิทยาลัยมหิดล.

คณาจารย์สาขาวิชาดนตรีศึกษา. (2558). บทเพลงในบ้านสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

ณรุทธ์ สุทธจิตต์. (2544). พฤติกรรมการสอนดนตรี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประสิทธิ์ ถาวร. (2532). กลอนระนาด. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พนัส หันนาคินทร์. (2521). การศึกษาของไทย. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.

มนตรี ตราโมท และวิเชียร กุลตัณฑ์. (2523). ฟังและเข้าใจเพลงไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยเขษม.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2536). การพัฒนาหลักสูตรการวิจัยวัฒนธรรม. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วารีรัตน์ แก้วอุไร. (2564). การพัฒนาหลักสูตรจากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

สงบศึก ธรรมวิหาร. (2540). ดุริยางค์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมหมาย จันทร์เรือง. (2544). พัฒนาการการศึกษาไทย อดีต ปัจจุบัน และในสหัสวรรษใหม่. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุพัตรา วิไลลักษณ์. (2557). “การสร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูดนตรีไทย เพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะด้านการขับร้องตามเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทย”. ศิลปกรรมสาร, 9, 1: 225-246.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-06