การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E รายวิชาวิทยาศาสตร์

-

ผู้แต่ง

  • ศิวะรักข์ ศรแก้ว กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้, กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E, แผนการจัดการเรียนรู้, เจตคติในการเรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E และ 2) ศึกษาเจตคติของนักเรียนต่อการเรียนการสอน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จำนวน 20 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 7E รายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบประเมิน เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของข้อมูล 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 และ 2) ด้านเจตคติของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E ในภาพรวมมีระดับเจตคติมากที่สุด (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}= 4.70, S.D. = 0.53)

References

ธัญพร สันวิลาศ, ปริญญา ทองสอน และสมศิริ สิงห์ลพ. (2563). “ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการพัฒนากระบวนการสำรวจค้นหาในกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ 7E”. e-Journal of Education Studies, Burapha University, 2, 4: 14-27.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ประสาท เนืองเฉลิม. (2550). “การเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบสืบเสาะ 7 ขั้น”. วารสารวิชาการ, 10, 4: 25-27.

พิรดา ช่วงกรุด, สมชาย กฤตพลวิวัฒน์ และวารีรัตน์ แก้วอุไร. (2558). “ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 7 ขั้น ร่วมกับเทคนิค 6 ใบ ที่มีผลต่อการคิดวิเคราะห์และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ เรื่อง โมเมนตัมและการชนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4”. วารสารคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 17, 2: 123-134.

มาเรียม นิลพันธุ์. (2555). วิธีวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 9). นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่. (2564). รายงานการประเมินตนอง (Self Assessment Report : SAR) ระดับพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2564. เชียงใหม่: วิทยาลัยนาฏศิลปเชียงใหม่.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). วิทยาศาสตร์รอบตัว. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 พฤษภาคม 2566. เข้าถึงจาก http://scimath.org/lesson -physics/item/7308-2017-06-14-15-23-3

สายพิณ มาวรรณ. (2551). ผลการใช้แผนผังมโนทัศน์ประกอบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการนำเสนอผลงานทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.

อนุธิดา สารทอง. (2559). 30 รูปแบบการจัดกิจกรรมโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เจริญดีการพิมพ์.

Eisenkraft, A. (2003). “Expanding the 5E model: A proposed 7E model emphasizes “transfer of learning” and the importance of eliciting prior understanding.”. The Science Teacher, 70, 6: 56-59.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-06