การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชานาฏศิลป์ ชุดรำวงมาตรฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ผสมผสานแนวคิดวงจรคุณภาพเดมมิ่ง

-

ผู้แต่ง

  • วัลย์ลดา สีงาม นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • คำรณ สุนทรานนท์ สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์, วงจรคุณภาพเดมมิ่ง, นาฏศิลป์, มัธยมศึกษาปีที่ 3

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ด้านความรู้รายวิชานาฏศิลป์ ชุดรำวงมาตรฐาน สำหรับนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอน ทักษะปฏิบัติของเดวีส์ผสมผสานแนวคิดวงจรคุณภาพเดมมิ่ง ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้รายวิชานาฏศิลป์ ชุดรำวงมาตรฐาน ระหว่างกลุ่มทดลองที่ใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดวีส์ผสมผสานแนวคิดวงจรคุณภาพเดมมิ่งกับกลุ่มควบคุมที่สอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนอ่างทองปัทมโรจน์วิทยาคม รวมทั้งสิ้นจำนวน 62 คน เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 32 คน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน 6 แผน แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้ ใช้สถิติทดสอบค่า t - test แบบกลุ่มตัวอย่างไม่อิสระ และ t - test แบบกลุ่มตัวอย่างอิสระ พบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) นักเรียน กลุ่มทดลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2556). เอกสารหลักสูตรอบรมแบบ e-Training กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ: นาฏศิลป์ (สำหรับผู้สอนระดับประถมศึกษา - มัธยมศึกษา). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2565. เข้าถึงจาก http:www.krukird.com/02119.pgf

ชนันธร หิรัญเชาว์. (2562). การพัฒนาทักษะนาฏศิลป์ไทยและความคิดสร้างสรรค์ ตามแนวคิดของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิตยา เต็งประเสริฐ และนนทลี พรธาดาวิทย์. (2558). “การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยการผสมผสานทักษะปฏิบัติเดวีส์และการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติชุดระบำไก่ วิชาดนตรี-นาฏศิลป์”. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9, 2: 13-21.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มนชนก รัตนจำนง. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชานาฏศิลป์ด้วยรูปแบบการสอนแบบทางตรงผสมผสานทักษะปฏิบัติของเดวีส์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ยุทธนา เกื้อกูล. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อสร้างผู้เรียนสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2555). ครูสังคมศึกษากับการพัฒนาทักษะแก่นักเรียน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมนึก ภัททิยธนี. (2551). การวัดผลการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 10). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

Davies, I.K. (1971). The management of learning. London: McGraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-06