การประเมินผลการพัฒนาทักษะผู้นำและทักษะอาชีพ ของครูและนักเรียนในโครงการพัฒนาทักษะผู้นำเยาวชน

-

ผู้แต่ง

  • มยุรี เสือคำราม สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • นิตยา สำเร็จผล สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ประสิทธิ์ ศรเดช สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • กิติชัย รุจิมงคล สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

ทักษะผู้นำ, ทักษะอาชีพ, การประเมินโครงการ, โรงเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาทักษะผู้นำเยาวชนใน 2 ประเด็น คือ 1) ประเมินการเปลี่ยนแปลงในตัวครู ในด้านภาวะผู้นำ ทักษะอาชีพ และทักษะการโค้ช และ 2) ประเมินการเปลี่ยนแปลงในตัวนักเรียนในด้านภาวะผู้นำ ทักษะอาชีพ และความต่อเนื่อง ในการรวมกลุ่มอาชีพ งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงประเมิน โดยใช้แนวคิดการประเมิน แบบระหว่างโครงการ และการประเมินสรุปผล โครงการเริ่มเมื่อตุลาคม พ.ศ.2564 มีโรงเรียนเข้าร่วม 16 โรงเรียนในการประเมินครั้งที่ 1 โดยสนทนากลุ่มครูจำนวน 32 คน และการตอบแบบสอบถามของนักเรียนจำนวน 256 คน ส่วนการประเมินครั้งที่ 2 เหลือโรงเรียนเข้าร่วม 15 โรงเรียน โดยสนทนากลุ่มครูจำนวน 15 คน สัมภาษณ์และจัดเสวนาครูและนักเรียนระหว่างการจัดนิทรรศการ และการตอบแบบสอบถามของนักเรียนจำนวน 226 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ความถี่ และร้อยละ ผลการประเมิน พบว่า 1) ผลการประเมินครู พบว่าครูมีมั่นใจในตัวเองเพิ่มขึ้น แสดงความเป็นผู้นำในการตัดสินใจและเป็นต้นแบบ ครูได้ร่วมคิดร่วมทำ พัฒนาทักษะอาชีพไปกับนักเรียน โดยวางแผน ให้คำแนะนำ ดูแลการฝึกปฏิบัติ อย่างใกล้ชิด แล้วค่อย ๆ ให้นักเรียนทำเอง 2) ผลการประเมินนักเรียน พบว่า นักเรียนมีบทบาทเป็นผู้นำโรงเรียน มีความมั่นใจเพิ่มขึ้น กล้าแสดงออก สามารถเป็นผู้นำได้เมื่อครูไม่ได้อยู่ด้วย นักเรียนต้องการประกอบอาชีพระหว่างเรียน และมีทักษะที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพต่าง ๆ ได้แก่ การขาย การนำเสนอสินค้า การตลาด การคิดต้นทุนกำไร บัญชี การขายออนไลน์ การผลิต และการซ่อมรถ ความต่อเนื่องของการรวมกลุ่มอาชีพของนักเรียนเกิดขึ้นได้เนื่องจาก มีเงินทุนและอุปกรณ์พร้อมทำ และกำหนดให้การทำอาชีพอยู่ในหลักสูตร

References

ณัฐกานต์ จงประจิต. (2563). โครงการฝึกทักษะอาชีพผ่านกิจกรรมตลาดเด็กปีที่ 2. ราชบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้าธนบุรี.

ทัศน์พล แก้วเพชรบุตร และวิภาดา ประสารทรัพย์. (2565). การบริหารวิชาการเพื่อพัฒนา ทักษะอาชีพของผู้เรียน. ใน ดวงสมร รุ่งสวรรค์โพธิ์ (บ.ก.), รายงานการประชุม Graduate School Conference. การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 4 (1372-1378). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ปฏิมา นรภัทรพิมล และคณะ. (2561). “แนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำของคณะกรรมการสภานักเรียน ระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา”. วารสารการวิจัยกาสะลองคำ, 12, 1: 81-91.

พัชนี มหาโพธิ์. (2565). “การพัฒนาการเรียนรู้แบบโครงงานอาชีพเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะอาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี 6”. วารสารวิจัยและพัฒนาสหวิทยาการ, 1, 3: 25-37.

มูลนิธิรักษ์ไทย. (2560). โครงการพัฒนาทักษะผู้นำเยาวชน (Youth Leadership Development: Nissan YLD). กรุงเทพฯ: มูลนิธิรักษ์ไทย.

_______. (2563). โครงการพัฒนาทักษะผู้นำเยาวชน (Youth Leadership Development: Nissan YLD). กรุงเทพฯ: มูลนิธิรักษ์ไทย.

สมพงษ์ ปั้นหุ่น. (2559). “การประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน”. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27, 2: 13-29.

สายเพ็ญ บุญทองแก้ว. (2563). การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะอาชีพสำหรับนักเรียนใน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สุราษฎร์ธานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

Abdallah, A. K. (2023). Teacher-Led, Student-Focused, and Unleashing the Power of Teacher Empowerment for School Improvement and Success. Hershey: IGI Global.

Irving, J. F. (1979). “Goal-free evaluation: Philosophical and ethical aspects of Michael Scriven's model”. California Journal of Teacher Education, 12, 3: 11-14.

Kennedy, T., & Sundberg, C. W. (2020). 21st-century skills. In B. Akpan, & T. J. Kennedy (Eds.), Science education in theory and practice: An introductory guide to learning theory (pp. 479-496). Cham: Springer International Publishing.

Larson, L. C., & Miller, T. N. (2011). “21st century skills: Prepare students for the future”. Kappa Delta Pi Record, 47, 3: 121-123.

Schloss, J. (2011). “Career development in schools: Do teachers have the skills?”. Journal of Career Development, 20, 3: 4–9.

Stephen, J.S., & Fru, A. (2023). Cultivating Student Employability Skills: Classroom to Career Preparedness and Readiness. In: Stephen, J.S., Kormpas, G., Coombe, C. (Eds), Global Perspectives on Higher Education. Knowledge Studies in Higher Education vol 11 (321-334). Cham: Springer International Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-06