การออกแบบบอร์ดเกมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับปลากัดป่า

-

ผู้แต่ง

  • อรรถเศรษฐ์ ปรีดากรณ์ ภาควิชาแอนิเมชันและสื่อสร้างสรรค์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม
  • ภัทรพล เกิดปรางค์ ภาควิชาแอนิเมชันและสื่อสร้างสรรค์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม

คำสำคัญ:

บอร์ดเกม, ปลากัดป่า, การเพาะพันธุ์ปลากัดป่า

บทคัดย่อ

บทความสร้างสรรค์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบบอร์ดเกม “Breeding Betta” ที่ให้ความรู้เรื่องการเพาะพันธุ์ปลากัดป่า ในรูปแบบสื่อเคลื่อนไหว 2 มิติ โดยมีวิธีดำเนินการสร้างสรรค์ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ 1) วางแผนแนวทางการดำเนินงาน 2) กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของเนื้อหา รวบรวมข้อมูลรวมทั้งศึกษาทำความเข้าใจกับเนื้อหาอย่างถูกต้อง 3) ศึกษาข้อมูลในการทำบอร์ดเกม และ 4) ออกแบบและจัดทำ คณะผู้สร้างสรรค์ได้พัฒนาบอร์ดเกมโดยสร้างสรรค์บอร์ดเกมรูปแบบเกมครอบครัว ซึ่งผู้เล่นสามารถเล่นได้ตั้งแต่ 2-4 คน จำลองให้ผู้เล่นเปรียบเสมือนเจ้าของฟาร์มปลากัดป่าพ่อพันธุ์สายพันธุ์ต่าง ๆ ที่คอยเลี้ยงดูเพาะพันธุ์ปลากัดป่า และพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดป่าเพื่อนำไปขาย โดยภายในเกมจะจำลองเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่อ้างอิงจากความเป็นจริง เพื่อสร้างความสนุก ในกับเกม และได้รู้จักปลากัดป่าสายพันธุ์ดั้งเดิมที่เปรียบเสมือนบรรพบุรุษของ ปลากัดสวยงามหลากหลายสายพันธุ์ สร้างความตระหนักรู้เรื่องปลาเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้ เนื่องจากปลากัดป่าบางสายพันธุ์มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ และหายากมากขึ้น จึงทำให้มีมูลค่าและเป็นที่ต้องการของตลาด ซึ่งผลงานนี้เป็นส่วนหนึ่ง ที่คณะผู้สร้างสรรค์มีความมุ่งหวังที่จะทำให้ปลากัดป่าเป็นที่รู้จัก และถ่ายทอดแนวทาง การเลี้ยงปลากัดสำหรับผู้ที่สนใจได้ลองเล่นในรูปแบบบอร์ดเกม

References

ณัชชา เจริญชนะกิจ และโสมฉาย บุญญานันต์. (2565). “แนวทางการออกแบบบอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้สะตีมศึกษา ที่มีประสิทธิภาพ และเครื่องมือวางแผนการออกแบบบอร์ดเกมการศึกษา”. วารสารครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 50, 4: 1-14.

ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดระบบการเรียนรู้ที่มี ประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นวพล ศุภนันทนานนท์. (2559). มาเลี้ยงปลากัดกัน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บ้านและสวน.

ประภาส โฉลกพันธ์รัตน์. (2544). การเพาะเลี้ยงปลากัด. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2565. เข้าถึงจาก https://home.kku.ac.th/pracha/Betta.htm

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2539). การออกแบบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.

สถาบันนวัตกรรมและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2544). สื่อการสอนเรื่องปลากัดไทย. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2566. เข้าถึงจาก https://il.mahidol.ac.th/e-media/siam-fighting-fish/my_propose.html

สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ. (2559). มาตรฐานสายพันธุ์และเกณฑ์การตัดสินปลากัดป่าในประเทศไทย. นนทบุรี: วนิดาการพิมพ์.

สฤณี อาชวานันทกุล. (2559). Board game universe จักรวาลกระดานเดียว. กรุงเทพฯ: แซลมอน.

สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. (2562). เสนอให้ปลากัดไทยเป็นสัตว์น้ำประจำชาติ. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 9 มกราคม 2566. เข้าถึงจาก https://www.soc.go.th/wp-content/uploads/slkupload/v62_62.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-06

ฉบับ

บท

บทความงานสร้างสรรค์