ตัณหา : จิตรกรรมไทยร่วมสมัยกับสัญลักษณ์ที่เป็นกลางทางเพศ
-
คำสำคัญ:
ตัณหา, จิตรกรรมไทยร่วมสมัย, สัญลักษณ์, ความเป็นกลางทางเพศบทคัดย่อ
ตัณหา คือหลักธรรมในพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยความอยากของมนุษย์ แต่ตำนานพุทธประวัติกลับสร้างภาพของตัณหาเป็นหญิงสาวผู้ยั่วยวน ทำให้สังคมไทยเข้าใจความหมายของหลักธรรมข้อนี้ผิดไป และเกิดภาพจำว่าตัณหาคือผู้หญิงไม่ดี เป็นสาเหตุให้ผู้ชายเกิดตัณหา ผู้สร้างสรรค์จึงต้องการสร้างสรรค์ผลงานในหัวข้อ “ตัณหา” ด้วยเทคนิคจิตรกรรมผสมและการปะติดวัสดุบนกรอบผ้าใบ เพื่อสร้างรูปสัญลักษณ์ใหม่ ของตัณหาที่มีความเป็นกลางทางเพศ ผ่านการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับตัณหา เชื่อมโยงกับพฤติกรรมบริโภคนิยม และอคติทางเพศในสังคม มุ่งเน้นการส่งเสริมการทำความเข้าใจหลักธรรมโดยไม่ยึดโยงไว้กับเพศใดเพศหนึ่ง ขั้นตอนการสร้างสรรค์เริ่มจากการศึกษาข้อมูล จัดทำภาพร่าง และเข้าสู่กระบวนการ โดยผลสรุปของการสร้างสรรค์ ได้ผลงานจิตรกรรมไทยร่วมสมัยที่นำเสนอสัญลักษณ์รูปแบบใหม่ที่ไม่ยึดติดทางเพศ ปรากฏดินแดนแห่งตัณหาที่มีรูปทรงของปราสาท อวัยวะบนใบหน้าและมือที่ไขว่คว้าเอื้อมหยิบสิ่งของมีค่าต่าง ๆ แสดงถึงดินแดนแห่งความอยากที่เชื้อเชิญให้มนุษย์ทุกคนลุ่มหลง ไม่ใช่เฉพาะหญิงหรือชายเท่านั้น เพื่อส่งเสริมให้ผู้คนเข้าใจหลักธรรมทางศาสนาโดยปราศจากอคติทางเพศอันเป็นผลมาจากความเชื่อ จารีตประเพณี
References
พระพรหมคุณาภรณ์. (2558). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 30). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
ภิกษุณีรตนธมฺมเจตนา. (2561). “การอธิบายตีความ “ตัณหา” ด้วยหลักเทสนาหาระ”. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 23, 2: 1-9.
ศิรินาถ อุสาพรหม. (2557). วิถีไทยศตวรรษที่ 21 : จากจิตรกรรมไทยสู่ศิลปะเทคนิคผสม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต สาขาทัศนศิลปศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เสถียรโกเศศ. (2512). เล่าเรื่องในไตรภูมิ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์อักษรเพชรเกษม.
สำนักข่าว Tnews. (2560). “สมุดภาพไตรภูมิสมัยกรุงธนบุรี” จากพระราชศรัทธาของ พระเจ้าตากสิน อีกหนึ่ง ราชภารกิจบนเส้นทางแห่งการบำเพ็ญเป็นพระโพธิสัตว์. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 8 มีนาคม 2566. เข้าถึงจาก https://www.tnews.co.th/variety/339810
สำนักข่าว TODAY. (2565). สถิติชี้ “หญิงไทย” เผชิญความรุนแรงสูงติดอันดับโลก สสส.วอนทุกภาคส่วนร่วมมือยุติปัญหา. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2566. เข้าถึงจาก https://workpointtoday.com/violence-to-th-women-2022/
สุชาติ บุษย์ชญานนท์. (2563). “การประยุกต์หลักพุทธธรรมในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจยุคบริโภคนิยม”. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์, 7, 2: 63-80.
Baramee of Art. (2563). ปัญญา วิจินธนสาร. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2566. เข้าถึงจาก https://www.barameeofart.com/artist_detail.php?id=469&lang=
Dhamma for Learner. (2558). พุทธประวัติ ตอน 6 ตรัสรู้. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 3 มีนาคม 2566 เข้าถึงจาก https://dhammaforlearner.blogspot.com/2015/08/BuhhdaHistoryEp06.html
Jonas Pfeiffer. (2022). Seraph. [online]. Retrieved 20 May 2023. From https://twitter.com/jopfe0815/status/1491171119818506240
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารพัฒนศิลป์วิชาการ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.