การสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านอีสานร่วมสมัย “ลายล่องนทีสองฝั่งโขง”

-

ผู้แต่ง

  • โยธิน พลเขต ภาควิชาดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ด สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

ดนตรีพื้นบ้านอีสานร่วมสมัย, ลายล่องนทีสองฝั่งโขง

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านอีสานร่วมสมัย “ลายล่องนทีสองฝั่งโขง” มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ด้านดนตรีชาติพันธุ์ลุ่มแม่น้ำโขงในภาคอีสาน 2) สร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านอีสานร่วมสมัย “ลายล่องนทีสองฝั่งโขง” 3) เผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านอีสานร่วมสมัย ผลการสร้างสรรค์พบว่า 1. องค์ความรู้ด้านดนตรีชาติพันธุ์ลุ่มแม่น้ำโขงในภาคอีสานมีลักษณะคล้ายคลึงกันกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว แนวคิดการสร้างสรรค์มาจากการล่องเรือไปตามแม่น้ำโขงเพื่อศึกษาวิถีชีวิตความเป็นอยู่และศิลปวัฒนธรรม ผ่านอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย แขวงไชยะบุรี ผ่านจังหวัดหนองคาย และนครหลวงเวียงจันทน์ ผ่านจังหวัดนครพนม และแขวงคำม่วน แขวงสะหวันเขต ผ่านอำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี และแขวงจำปาสัก 2. การสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านอีสานร่วมสมัย “ลายล่องนทีสองฝั่งโขง” แบ่งเป็น 4 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 เชียงคานม่วนชื่น ตอนที่ 2 หนองคายม่วนหลาย ตอนที่ 3 ออนซอนนครพนม และตอนที่ 4 เมืองอุบลลำเพลิน ใช้แนวคิดในการประพันธ์ คือ 1) การผสมผสานวัฒนธรรมดนตรีพื้นบ้านอีสานกับดนตรีตะวันตก 2) การแสดงเอกลักษณ์ดนตรีพื้นบ้านอีสาน 3) การประพันธ์“ลายล่องนทีสองฝั่งโขง” โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานเพื่อให้เกิดเสียงและสีสันใหม่ 3. การเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ดนตรีพื้นบ้านอีสานร่วมสมัย “ลายล่องนทีสองฝั่งโขง” โดยช่องทางออนไลน์ และทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

References

เจริญชัย ชนไพโรจน์. (2526). ดนตรีพื้นบ้านอีสาน.มหาสารคาม. มหาสารคาม: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2561). ประชุมบทความวิชาการดนตรี 60 ปีรองศาสตราจารย์ ดร. เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. ขอนแก่น: กองทุนดนตรีเฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี สาขาดนตรีและการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัชชา พันธุเจริญ. (2559). มิติใหม่ของดนตรีสากลในประเทศไทย : ดนตรีสร้างสรรค์เชิงวิชาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร และคณะ. (2561). โครงการวิจัยดนตรีอาเซียนเพื่อการประพันธ์เพลงร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นัทธมน พึ่งเจริญ, วันฉัตร จันทร์โต และศศินันท์ หมีปาน. (2556). แนวคิดการสร้างสรรค์ประพันธ์บทเพลงของอาจารย์ฐิระพล น้อยนิตย์ ในการแสดงหุ่นละครเล็กโดยคณะโจหลุยส์ เรื่องพระมหาชนก ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสครบรอบพระชนม์มายุ 84 พรรษา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีไทย ภาควิชาดนตรี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ์. (2560). “การเวก เพลงแคนในมิติดนตรีร่วมสมัย”. วารสารดนตรีรังสิต มหาวิทยาลัยรังสิต, 12, 2: 89-102.

สำราญ จูช่วย. (2551). แนวทางการประชาสัมพันธ์ตามคุณลักษณะของนักศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์. นนทบุรี: วิทยาลัยราชพฤกษ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-06

ฉบับ

บท

บทความงานสร้างสรรค์