ลักษณะเด่นของบทละครเรื่องระเด่นลันได
-
คำสำคัญ:
ลักษณะเด่น, บทละคร, ระเด่นลันไดบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอลักษณะเด่นของบทละครเรื่องระเด่นลันได จากการศึกษาพบว่า บทละครเรื่องระเด่นลันได เนื้อเรื่องมีจำนวนคำกลอนทั้งหมด 402 คำกลอน เพลงหน้าพาทย์ จำนวน 11 เพลง และเพลงร้อง จำนวน 7 เพลง เนื้อความเป็นเรื่องล้อเลียนวรรณคดีเรื่องอิเหนา มีการใช้ถ้อยคำในบทประพันธ์ที่มีความกลมกลืน ลีลากลอนกระชับ เนื้อเรื่องเป็นแนวแปลกกว่าบทละครเรื่องอื่น ๆ นอกจากนี้แสดงถึงคนในสังคมสมัยนั้นว่า มีความเชื่อบางประการอันเป็นลักษณะเด่นด้านคติชน ความเชื่อเรื่องภูตผี ความเชื่อเรื่องนัยน์ตากระตุก ความเชื่อเรื่องผีอำ ซึ่งสังคมในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เป็นสังคมพุทธและพราหมณ์ คือ เคารพในพระพุทธศาสนาเชื่อเรื่องบุญกรรม แต่ยังมีความเชื่อดั้งเดิม เช่น ความเชื่อทางไสยศาสตร์ตามศาสนาพราหมณ์เข้ามาปะปนอยู่ ส่วนความสำคัญและบทบาทบทละครเรื่อง ระเด่นลันได ได้แก่ คุณค่าทางด้านภาษา คุณค่าทางด้านการให้ความรู้เรื่องค่านิยมในสังคม โดยบทบาทของบทละครเรื่องระเด่นลันได คือบทบาทในฐานะที่เป็นบทประพันธ์วรรณกรรมล้อเลียน
References
ฐานะมนตรี กลิ่นจันทร์แดง. ( 2563 ). “ภูมิปัญญาในการสร้างอารมณ์ขันในวรรณกรรมล้อประเภทร้อยกรองร่วมสมัยของไทย”. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2, 3: 579-592.
พระมหามนตรี. (2556). บทละครเรื่องระเด่นลันได (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: สำนักพิมพ์ศิลปาบรรณาคาร.
มูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา. (2553). นามานุกรมวรรณคดีไทย ชุดที่ 1. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2556). เอกสารการสอนชุดวิชาวรรณคดีไทย หน่วยที่ 1-7. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วัชรี รมยนันท์. (2538). วิวัฒนาการวรรณคดีไทย (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สนิท ตั้งทวี. (2528). วรรณคดีและวรรณกรรมไทยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สมถวิล วิเศษสมบัติ. (2527). วรรณคดีการละคร. กรุงเทพฯ: อักษรบัณฑิต.
อรธิรา บัวพิมพ์. (2523). วิเคราะห์วรรณกรรมร้อยกรองประเภทล้อเลียนในสมัยรัตนโกสินทร์ ระหว่าง พ.ศ. 2367 - พ.ศ. 2468. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.