ฟ้อนเอิ้นขวัญ : การสร้างสรรค์นาฏศิลป์พื้นบ้านจากพิธีบายศรีสู่ขวัญ

-

ผู้แต่ง

  • กิตติยา ทาธิสา สาขานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • อังศุมาลิน ทาธิสา สาขานาฏศิลป์ศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

เอิ้นขวัญ, บายศรีสู่ขวัญ, การสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวม ความเป็นมาของฟ้อนเอิ้นขวัญบทร้อง ทำนองเพลง วงดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง การออกแบบเครื่องแต่งกายและการออกแบบท่ารำ พบว่าผลจากการสร้างสรรค์มีดังนี้ พิธีบายศรีสู่ขวัญ เป็นพิธีที่สำคัญของชาวอีสาน เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับขวัญและจิตใจ มีความเชื่อว่าการสู่ขวัญจะช่วยให้เกิดศิริมงคล ปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีออกไป หายจากสรรพเคราะห์ทั้งปวง ฟ้อนเอิ้นขวัญจึงได้รับแรงบันดาลใจมาจากพิธีสู่ขวัญหรือบายศรีสู่ขวัญ ซึ่งเป็นพิธีที่สำคัญของชาวอีสานจากการศึกษาพบว่า 1) บทร้องเพลงฟ้อนเอิ้นขวัญ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน  ส่วนที่ 1 คือ การใช้บทร้องดั้งเดิมของอีสาน คือ บทร้องสรภัญญ์ จำนวน 5 ท่อน และส่วนที่ 2 แต่งบทร้องจากเนื้อหาบทสูตรขวัญ 2) ทำนองเพลงฟ้อนเอิ้นขวัญ แบ่งออกเป็น 3 ท่อน คือ ท่อนที่ 1 การเกริ่นแคนลายล่อง ประกอบการขับร้อง และท่อนที่ 2 เป็นทำนองสรภัญญะ และท่อนที่ 3 ลายข้าวต้องลม 3) ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง คือ วงหมากกะโหล่งโปงลางประกอบด้วย โปงลาง โปงลางเหล็ก หมากกะโหล่ง พิณ เบส แคน โหวด กลองหาง กลองรำมะนา ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ 4) การแต่งกาย สวมเสื้อแขนกระบอกสีขาว นุ่งผ้าถุงมัดหมี่มีหัวซิ่นและตีนซิ่น ห่มผ้าขิด เกล้าผมมวยไว้กลางศีรษะประดับด้วยเกลียวฝ้ายสีขาวทัดดอกไม้สีขาว 5) กระบวนท่ารำได้มาจากฟ้อนแม่บทอีสาน 16 ท่า และท่านาฏศิลป์ไทย 4 ท่า ทั้งนี้ การสร้างสรรค์งานการแสดงพื้นบ้านอีสานเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นและอัตลักษณ์ของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ สืบสานต่อยอดต่อไป

References

คมจรัส ทองจรัส และณรงค์รัชช์ วรมิตรไมตรี. (2565). “กระบวนการการสร้างสรรค์ลายดนตรีพื้นบ้านอีสานของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์: ลายข้าวต้องลม”. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 16, 2: 106-116.

ปิยะ สุดิสุสดี. (2545). การศึกษาวิเคราะห์บทสู่ขวัญ บ้านไร่ หมู่ 1 ตำบลบ้านไร่ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ยุพา กาฬเนตร, ประทับใจ สิกขา และประสิทธิ์ พวงบุตร. (2544). ประเพณีอีสานในเชิงอนุรักษ์และเผยแพร่. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

รุจินาถ อรรถสิษฐ. (2548). ขวัญ : ขวัญชีวิตของคนไทย. นนทบุรี: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข.

วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์. (2556). ผลงานสร้างสรรค์ ฟ้อนเอิ้นขวัญ. กาฬสินธุ์: วิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์.

ศักดิ์สยาม แสงสกุล. (2565). ภาพพิธีสู่ขวัญในงานมงคลสมรส. กาฬสินธุ์: ม.ป.พ.

สาร สาระทัศนานันท์. (2540). พิธีสู่ขวัญ และคำสู่ขวัญโบราณ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24