การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง โดยใช้การเขียนสรุปความด้วยผังกราฟิก
-
คำสำคัญ:
การเขียนสรุปความ, การใช้ผังกราฟิก, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง ก่อนและหลังใช้การเขียน สรุปความด้วยผังกราฟิก กลุ่มเป้าหมายคือ นักศึกษาระดับชั้นปริญญาตรี ปีที่ 1 วิทยาลัยนาฏศิลปอ่างทอง จำนวน 15 คน การวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง เครื่องมือประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนการเขียนสรุปความโดยใช้ผังกราฟิก และแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เปรียบเทียบผลต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้สถิติพื้นฐาน คือ ร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการใช้แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการเรียนการสอนการเขียนสรุปความโดยใช้ผังกราฟิก นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยมีร้อยละของคะแนนเพิ่มขึ้นระหว่าง 28.57-66.67
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรงศึกษาธิการ.
จารุฬี แสงอรุณ. (2559). การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนสรุปความของนักศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบแผนผังความคิด. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
นภัส ศรีเจริญประมง และวราลี ถนอมชาติ. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ผังกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดของนักศึกษาวิชาชีพครูในยุคการศึกษาไทย 4.0. จันทบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
ปราณี เสนีย์ และมีชัย สีเจริญ. (2544). “การนำแผนภาพลำดับการคิดมาใช้การเรียนการสอน”. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 16, 1: 61-64.
ปิยพงษ์ พรมนนท์. (2563). “ผลการใช้รูปแบบการสอนด้วยผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการเขียนสรุปความภาษาอังกฤษ ของนักศึกษาชั้นประถมศึกษาตอนปลาย”. วารสารการวัดผลการศึกษา, 37, 101: 44-59.
รณชัย จันทร์แก้ว (2559). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความคงทนในการเรียนวรรณคดีไทย ของนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
Buzan, T. (1991). Use Both Sides of Your Brain. New York: Penguin Group.
Kiansanthia S. (2002). “Using Thai country songs as teaching aids to develop conclusivewriting skills of the Fourth Grade Students, Nonethai District, Nakhon Ratchasima Province”. Journal of Academic Studies, 3, 17: 11-21.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. New York: Wiley & Son.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.