การศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 3 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช
-
คำสำคัญ:
การฝึกประสบการณ์, วิชาชีพครู, นักศึกษาปริญญาตรี , วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราชบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 3 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยอาจารย์นิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน ครูพี่เลี้ยงโรงเรียนที่นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 83 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 3 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย 6 ด้าน ดังนี้ ฝึกการออกแบบการจัดการเรียนรู้ ฝึกการสร้างเครื่องมือวัดผลประเมิน สื่อนวัตกรรมการสอน ทักษะการปฏิบัติการสอน บุคลิกภาพการเป็นครู การรายงานผลการพัฒนาผู้เรียนเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลสถานภาพ ได้แก่ อาจารย์นิเทศก์ ร้อยละ 30.12 ผู้บริหารโรงเรียน ร้อยละ 34.94 ครูพี่เลี้ยง ร้อยละ 34.94 ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาปริญญาตรีปีที่ 3 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช ในภาพรวมพบว่า มีความคิดเห็นการประเมิน
การฝึกปฏิบัติฯของนักศึกษา อยู่ในระดับมาก ( = 4.42,
= 0.55) แยกตามสถานภาพพบว่า ความคิดเห็นที่มีต่อการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูพี่เลี้ยงมีความคิดเห็นในระดับมากที่สุด และอาจารย์นิเทศก์มีความคิดเห็นในระดับมาก
References
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2562, 20 มีนาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 136 ตอนที่ 68 ง. หน้า 18-20.
ฉวีวรรณ สุวรรณาภา อรอนงค์ วูวงศ์ และพัฒน์นรี อัฐวงศ์. (2554). การฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ของนิสิต มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตแพร่. แพร่: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช. (2562). หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษา (4 ปี) (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562). นครศรีธรรมราช: ภาควิชาดนตรีศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลปนครศรีธรรมราช.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556). รายงานประจำปี 2556 สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากับเส้นทางการพัฒนาการศึกษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
อับดุลฮาลิม อาแด และอิบบรอเฮง อาลฮูเซน. (2561). ศึกษาผลการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ยะลา: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
อารยา องค์เอี่ยม พงศ์ธารา วิจิตเวชไพศาล. (2561). “การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย”. วิสัญญีสาร, 44, 1: 36-42.
Likert, R. (1967). New Pattern of Management. New York: McGraw-Hil.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 ฝ่ายผลิตสื่อสิ่งพิมพ์และตำราวิชาการ กองส่งเสริมวิชาการและงานวิจัย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สบศ.