สมาธิ : การสร้างสรรค์ประติมากรรม เพื่อการเชื่อมโยงกายกับจิตให้สงบนิ่งนำมาซึ่งความสงบ

-

ผู้แต่ง

  • อัษฎเชษฐ์ เตชะวระนนท์ นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

สมาธิ, กาย, จิต, สงบ

บทคัดย่อ

ผลงานสร้างสรรค์ “สมาธิ” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมลอยตัวเพื่อการเชื่อมโยงกายกับจิตให้สงบนิ่งนำมาซึ่งความสงบ โดยการศึกษาข้อมูลภาคเอกสารและข้อมูลสารสนเทศทางอินเตอร์เน็ตมาสนับสนุน สิ่งที่ศึกษาค้นคว้านั้นพบว่าในการทำสมาธิเป็นศิลปะอันลึกซึ้ง เป็นความมหัศจรรย์ทางจิตวิญญาณ เป็นโลกแห่งความสงบนิ่ง และการทำสมาธินั้น ทำกันอย่างกว้างขวาง ผู้คนต่างเห็นคุณค่าในการทำสมาธิ มีแนวโน้มในการปฏิบัติมากขึ้น และได้นำการทำสมาธิเข้ามาใช้ในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดจิตใจตั้งมั่นอยู่ในเรื่องที่กำลังทำอยู่ในขณะนั้น สมาธิสามารถนำไปใช้ได้กับทุกอย่าง เช่น การเรียน การทำงาน และอื่น ๆ ทำให้เกิดประสิทธิภาพในการกระทำนั้น ๆ ซึ่งผู้สร้างสรรค์เลือกรูปแบบของผู้ปฏิบัติการนั่งสมาธิมาเป็นต้นแบบทางความคิด โดยการนำข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้มา สร้างสรรค์เป็นผลงานประติมากรรมลอยตัวในรูปแบบใหม่ที่มีลักษณะเฉพาะตน โดยสรุปผลจากการสร้างสรรค์พบว่า แนวคิดใหม่ที่ผู้สร้างสรรค์ได้นำการทำสมาธิ สามารถนำไปสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมลอยตัวที่มีความพิเศษได้ คือ สามารถมองเห็นประติมากรรมลอยตัวที่ดูคล้ายกับท่านั่งสมาธิในรูปแบบเดียวกันทุกด้าน

References

กาญจนา หาญศรีวรพงศ์ และพระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2562). “สมาธิกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตมนุษย์”. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 19, 1: 287-295.

ฉัตรมงคล อินสว่าง. (2562). “พื้นที่แห่งการตื่นรู้ในงานประติมากรรมของแอนโทนี กอร์มลีย์”. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12, 6: 1851-1870.

ธงชัย ศรีสุขประเสริฐ. (2559). พระพุทธบำเพ็ญทุกรกิริยา. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2566. เข้าถึงจาก http://www.rama9art.org/artisan/2018/january/masterpieces_art/index.html

นนทิวรรธน์ จันทนะผะลิน. (2556). นิทรรศการ : Nonthivathn Chandhanaphalin. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2566. เข้าถึงจาก https://www.barameeofart.com/product_detail.php?id=1742&page=2&event_s=28&artist_s=&lang=

บรรจบ กำจัด. (2549). “Color Therapy ศาสตร์แห่งสีเพื่อการบำบัดโรค”. ชีวจิต, 9, 195: 58-62.

โพธิสิกขาลัย. (2554). พระพุทธรูปศิลปะคันธาระ (Gandhara). [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2566. เข้าถึงจาก http://www.bodhisikkhalai.com/gandhara.php

มานพ สุวรรณปินฑะ. (2564). จิตวิญญาณงานประติมากรรม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2566. เข้าถึงจาก https://www.mixmagazine.in.th/00005829

สัญญา ศิริพานิช. (2557). “อิทธิพลของปัญญาสชาดกที่มีต่อพุทธศิลปกรรม ในเขตพุทธสถาน : กรณีศึกษาวัดในอำเภอเมืองเชียงใหม่”. วารสารวิจิตรศิลป์, 5, 2: 133-183.

สุนีย์ สัจจาไชยนนท์ และวิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2560). “การบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมการนั่งสมาธิของวัดพระธรรมกาย ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6, 2: 251-267.

สุภัทรดิศ ดิศกุล, ม.จ. (2532). พระพุทธรูปปางสมาธิ ประติมากรรมศิลปะขอม. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2566. เข้าถึงจาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/supatlib/picture2.php?check=country&keyword=5&Page=50

ฮงจินฉือ. (2564). รูปปั้น “ทรัมป์” นั่งสมาธิ ฝีมือชาวจีน สอนคติเรื่องการ “ปล่อยวาง”. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 18 มีนาคม 2566. เข้าถึงจาก https://www.voathai.com/a/trump-meditating-post-chinese-artist-/5837412.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

ฉบับ

บท

บทความงานสร้างสรรค์