การสร้างสรรค์บทเพลงชุด หริณัศศิกษัย

-

ผู้แต่ง

  • อมรเทพ ใจเสงี่ยม ภาควิชาดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ธนพัฒน์ ศรีวอ ภาควิชาดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • พงศธร สุธรรม ภาควิชาดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • ปีติกร เทียนจีน ภาควิชาดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
  • สุวิชา พระยาชัย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

คำสำคัญ:

การสร้างสรรค์, บทเพลง, หริณัศศิกษัย

บทคัดย่อ

การสร้างสรรค์บทเพลงชุด หริณัศศิกษัย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดจันทบุรีและสร้างสรรค์บทเพลง ผลการวิจัยพบว่า ตราสัญลักษณ์ประจำจังหวัดจันทบุรีสร้างขึ้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม กรมศิลปากรออกแบบโดยเชื่อมโยงชื่อจังหวัดกับตำนานกระต่ายบนดวงจันทร์ ตราสัญลักษณ์มีองค์ประกอบที่สื่อถึงความอุดมสมบูรณ์และความผาสุกของประชาชน ปัจจุบันตราสัญลักษณ์ได้ถูกนำมาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์แก่ท้องถิ่น เช่น เครื่องหมายการค้า ป้ายสถานที่ สัญลักษณ์ในงานสำคัญ สอดคล้องกับแนวคิดชาตินิยมของอดีตผู้นำที่ต้องการให้ประชาชนเกิดความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์บ้านเกิดของตนเอง คณะผู้สร้างสรรค์จึงเกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์บทเพลงขึ้นเพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์จังหวัดจันทบุรี อีกทั้งยังสามารถนำบทเพลงไปใช้ให้เกิดประโยชน์แก่สังคม บทเพลงประกอบด้วย 3 องก์ คือ 1) เล่าขานตำนานกระต่าย 2) กระต่ายเริงระบำ และ 3) ผาสุกจันทบูร โดยมีประเด็นในการสร้างสรรค์ ได้แก่ การประพันธ์คำร้อง การประพันธ์เพลงจากเค้าโครงทำนองที่มีอยู่เดิม การประพันธ์ทางเปลี่ยน การประพันธ์โดยใช้จินตนาการ การปรุงแต่งอรรถรสของการบรรเลงและการสร้างสรรค์จังหวะหน้าทับ บทเพลงชุดนี้บรรเลงด้วยวงดนตรีที่ผสมขึ้นใหม่ ระหว่างดนตรีไทยและดนตรีสากล เพื่อให้การถ่ายทอดอารมณ์และความหมายของบทเพลงมีความสมบูรณ์

References

กรมศิลปากร. (2542). ตราประจำจังหวัด. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุ. (2544). หนังสือเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดจันทบุรี. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.

จรรยา มาณะวิท. (2550). เมืองเพนียด. ม.ป.ท.

ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์. (2546). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

ถาวร สิกขโกศล. (2557). เทศกาลจีนและการเซ่นไหว้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มติชน.

ธนกุล วรรณประเสริฐ และนัยนา ชัยบุตร. (2551). กายวิภาคศาสตร์กระต่าย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประวิทย์ สุวณิชย์. (2537). 108 ซองคำถาม. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2547). การสร้างและสืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง วาทกรรมอัตลักษณ์. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

เพชรดา เทียมพยุหา. (2556). การศึกษาดนตรีร่วมสมัย : กรณีศึกษาวงกำไล. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขามานุษยดุริยางควิทยา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภัทระ คมขำ. (2556). การประพันธ์เพลงช้าเรื่องปูจานครน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มนตรี ตราโมท. (2538). ดุริยสาส์นของนายมนตรี ตราโมท. กรุงเทพฯ: ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน).

สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ. (2546). ดุริยางคศิลป์ไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภัค มหาวรากร. (2552). ความเปรียบเกี่ยวกับน้ำกับมรรคา สู่นิพพานในอรรถกถาชาดก. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

องค์การสวนสัตว์แห่งประเทศไทย. (2565). กระต่ายบ้าน. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2565. เข้าถึงจากhttps://www.zoothailand.org/animal_view.php?detail_id=46&c_id=

อารี รังสินันท์. (2532). ความคิดสร้างสรรค์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-24

ฉบับ

บท

บทความงานสร้างสรรค์