Home
Submissions
As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
Where available, URLs for the references have been provided.
The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.
คำแนะนำสำหรับผู้เขียนในการส่งบทความ / รายงานวิจัยเพื่อลงตีพิมพ์ “วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย”
วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย เป็นวารสารของสโมสรเสือป่าวชิราวุธานุสารณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ผลงานวิจัย บทความวิชาการ และเพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในทางวิชาการ
คำแนะนำสำหรับผู้สนใจส่งบทความลงวารสาร 1) ส่งต้นฉบับบทความที่สรุปแล้ว จำนวนไม่เกิน 15 หน้า ในระบบออนไลน์ Thaijo 2) ทางศูนย์ฯ จะส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ 3 ท่าน และจะติดต่อผู้เขียนในกรณีแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ Peer Review(ประมาณ 2 – 3 เดือนหลังจากได้รับบทความ) เพื่อให้ทางผู้เขียนนำไปดำเนินการแก้ไข เมื่อแก้ไขเสร็จตามที่ประเมินจาก Peer Review ให้ส่งต้นฉบับที่แก้ไขแล้ว จำนวน 1 ชุด พร้อมส่งไฟล์ที่ E-mail : wannalamyai@hotmail.com 3) ทางศูนย์ฯ จะตอบรับบทความท่านว่าได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร 4) เมื่อบทความของท่านได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแล้วทางศูนย์ฯ จะนำขึ้นเว็บไซต์วารสารฯ 5) เอกสารอ้างอิง ข้อมูลมาจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือและทันสมัยไม่เกิน 10 ปี
การเตรียมต้นฉบับ “บทความวิชาการ” (สรุปไม่เกิน 15 หน้า) 1. ชื่อเรื่อง ชื่อเรื่อง (Title) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2. ชื่อผู้นิพนธ์และสังกัด (Author & by-line) เขียน ชื่อ นามสกุล ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ วุฒิการศึกษาสูงสุดและตัวย่อทั้ง 2 ภาษา ในกรณีที่มีผู้นิพนธ์หลายคนให้เรื่องชื่อตามลำดับความสำคัญที่แต่ละคนมีส่วนร่วมในงานวิจัยนั้นชื่อสถานที่ทำงานหรือหน่วยงานและสถาบันของผู้เขียนที่เป็นปัจจุบันเพื่อสะดวกในการติดต่อกลับ 3. บทนำ (Introduction) ให้ข้อมูลข้อสนเทศและประเด็นสำคัญทางวิชาการ รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้น 4. หลักและคำอธิบายที่ผสมผสานกับข้อวิจารณ์ โดยประกอบด้วยประเด็นย่อยหรือหัวข้อย่อย และคำอธิบายที่ผสมผสานกับข้อวิจารณ์หรือข้อเสนอแนะที่ก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ 5. สรุป (Conclusion) 6. การจัดทำเชิงอรรถและบรรณานุกรม (References) อ้างอิงโดยใช้ระบบแบบนาม-ปี ระบุผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าของเอกสารที่ใช้อ้างอิงไว้ภายในวงเล็บต่อท้ายด้วยข้อความที่ยกมาอ้างอิง (โดยอ้างอิงไม่ควรเกิน 20 เล่ม)
การเตรียมนิพนธ์ต้นฉบับ (Original article) “รายงานวิจัย” (สรุปไม่เกิน 15 หน้า) 1. ชื่อเรื่อง (Title) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ 2. ชื่อผู้นิพนธ์และสังกัด (Author & by-line) เขียน ชื่อ นามสกุล ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ วุฒิการศึกษาสูงสุดและตัวย่อทั้ง 2 ภาษา ในกรณีที่มีผู้นิพนธ์หลายคนให้เรื่องชื่อตามลำดับความสำคัญที่แต่ละคนมีส่วนร่วมในงานวิจัยนั้นโดยใช้เครื่องหมายลำดับเลข * , ** ,*** ทำเชิงอรรถท้ายหน้า (footnote) เพื่อระบุชื่อสถานที่ทำงานหรือหน่วยงานและสถาบันของผู้เขียนที่เป็นปัจจุบัน 3. บทคัดย่อ (Abstract) มีทั้งฉบับภาษาไทยและอังกฤษต้องเป็นความเรียงย่อหน้าเดียวมีความสมบูรณ์ครบถ้วน โดยมีสาระสังเขปประกอบด้วย วัตถุประสงค์ (Objective) วัสดุและวิธีการวิจัย (การเก็บข้อมูล/ กลุ่มตัวอย่าง/ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/การวิเคราะห์ผล) (Materials and Methods) และสรุปผล (Results Conclusion) จำนวนไม่เกิน 300 คำ 4. คำสำคัญ (Keyword) เขียนเป็นคำ หรือวลี ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ จำนวน 3 - 5 คำ 5. บทนำ (Introduction) ให้ข้อมูลข้อสนเทศและประเด็นสำคัญทางวิชาการ รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้น 6. วิธีดำเนินการวิจัย (Materials and methods) กล่าวถึงการออกแบบกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ทางสถิติโดยเรียบเรียงตามขั้นตอน 7. ผลการวิจัย (Result) รายงานและอธิบายผลที่สำคัญที่เป็นจริงอาจมีตารางและภาพประกอบไม่เกิน 4 ตารางหรือภาพไม่ซ้ำซ้อนกับคำบรรยาย 8. สรุปและอภิปรายผล (Discussion) นำประเด็นที่สำคัญเป็นจริงของผลการวิจัยมาศึกษาอธิบายเรียงตามลำดับที่เสนอในผลว่าเหมือนหรือต่างจากผลการศึกษาของผู้อื่นอย่างไรโดยมีหลักฐานอ้างอิงที่น่าเชื่อถือการนำผลมาประยุกต์ใช้รวมหัวข้อเสนอแนะทางวิชาการ 9. การจัดทำเชิงอรรถและบรรณานุกรม อ้างอิงโดยใช้ระบบแบบนาม-ปี (โดยอ้างอิงไม่ควรเกิน 20 เล่ม )
* แบบฟอร์มการเขียนบทความ
* รูปแบบการอ้างอิงแบบนาม-ปี (APA Style)
- บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมายเป็ นวรรณกรรมของผู้เขียนโดยเฉพาะ สโมสรเสือป่าวชิราวุธานุสรณ์ และกองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้ องเห็นด้วย
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ ในการคัดลอกบทความเพื่อการศึ กษาแต่ให้อ้างอิงแหล่งที่มาให้ ครบถ้วนสมบูรณ์