Information For Authors

คำแนะนำสำหรับผู้เขียนในการส่งบทความ / รายงานวิจัยเพื่อลงตีพิมพ์
“วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย”

          วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย เป็นวารสารของสโมสรเสือป่าวชิราวุธานุสรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ผลงานวิจัย บทความวิชาการ และเพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในทางวิชาการ

คำแนะนำสำหรับผู้สนใจส่งบทความลงวารสาร
1) ส่งต้นฉบับบทความที่สรุปแล้ว จำนวนไม่เกิน 15 หน้า ในระบบออนไลน์ Thaijo
2) ทางศูนย์ฯ จะส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความอย่างน้อย 2 ท่าน และจะติดต่อผู้เขียนในกรณีแก้ไขจากผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ Peer Review (ประมาณ 2 – 3 เดือนหลังจากได้รับบทความ) เพื่อให้ทางผู้เขียนนำไปดำเนินการแก้ไข เมื่อแก้ไขเสร็จตามที่ประเมินจาก Peer Review ให้ส่งต้นฉบับที่แก้ไขแล้ว จำนวน 1 ชุด พร้อมส่งไฟล์ที่ E-mail : wannalamyai@hotmail.com
3) ทางศูนย์ฯ จะตอบรับบทความท่านว่าได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร                                                    4) เมื่อบทความของท่านได้รับการตีพิมพ์ในวารสารแล้วทางศูนย์ฯ จะนำขึ้นเว็บไซต์วารสารฯ
5) เอกสารอ้างอิง ข้อมูลมาจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือและทันสมัยไม่เกิน 10 ปี   


การเตรียมต้นฉบับ “บทความวิชาการ” (สรุปไม่เกิน 15 หน้า) 
1. ชื่อเรื่อง ชื่อเรื่อง (Title) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2. ชื่อผู้นิพนธ์และสังกัด (Author & by-line) เขียน ชื่อ นามสกุล ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ วุฒิการศึกษาสูงสุดและตัวย่อทั้ง 2 ภาษา ในกรณีที่มีผู้นิพนธ์หลายคนให้เรื่องชื่อตามลำดับความสำคัญที่แต่ละคนมีส่วนร่วมในงานวิจัยนั้นชื่อสถานที่ทำงานหรือหน่วยงานและสถาบันของผู้เขียนที่เป็นปัจจุบันเพื่อสะดวกในการติดต่อกลับ
3. บทนำ (Introduction) ให้ข้อมูลข้อสนเทศและประเด็นสำคัญทางวิชาการ รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้น
4. หลักและคำอธิบายที่ผสมผสานกับข้อวิจารณ์ โดยประกอบด้วยประเด็นย่อยหรือหัวข้อย่อย และคำอธิบายที่ผสมผสานกับข้อวิจารณ์หรือข้อเสนอแนะที่ก่อให้เกิดแนวคิดใหม่
5. สรุป (Conclusion)
6. การจัดทำเชิงอรรถและบรรณานุกรม (References) อ้างอิงโดยใช้ระบบแบบนาม-ปี ระบุผู้แต่ง ปีที่พิมพ์ และเลขหน้าของเอกสารที่ใช้อ้างอิงไว้ภายในวงเล็บต่อท้ายด้วยข้อความที่ยกมาอ้างอิง (โดยอ้างอิงไม่ควรเกิน 20 เล่ม)

การเตรียมนิพนธ์ต้นฉบับ (Original article) “รายงานวิจัย” (สรุปไม่เกิน 15 หน้า)
1. ชื่อเรื่อง (Title) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
2. ชื่อผู้นิพนธ์และสังกัด (Author & by-line) เขียน ชื่อ นามสกุล ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ วุฒิการศึกษาสูงสุดและตัวย่อทั้ง 2 ภาษา ในกรณีที่มีผู้นิพนธ์หลายคนให้เรื่องชื่อตามลำดับความสำคัญที่แต่ละคนมีส่วนร่วมในงานวิจัยนั้นโดยใช้เครื่องหมายลำดับเลข * , ** ,*** ทำเชิงอรรถท้ายหน้า (footnote) เพื่อระบุชื่อสถานที่ทำงานหรือหน่วยงานและสถาบันของผู้เขียนที่เป็นปัจจุบัน
3. บทคัดย่อ (Abstract) มีทั้งฉบับภาษาไทยและอังกฤษต้องเป็นความเรียงย่อหน้าเดียวมีความสมบูรณ์ครบถ้วน โดยมีสาระสังเขปประกอบด้วย วัตถุประสงค์ (Objective) วัสดุและวิธีการวิจัย (การเก็บข้อมูล/ กลุ่มตัวอย่าง/ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/การวิเคราะห์ผล) (Materials and Methods) และสรุปผล (Results Conclusion) จำนวนไม่เกิน 300 คำ
4. คำสำคัญ (Keyword) เขียนเป็นคำ หรือวลี ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ จำนวน 3 - 5 คำ
5. บทนำ (Introduction) ให้ข้อมูลข้อสนเทศและประเด็นสำคัญทางวิชาการ รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยนั้น
6. วิธีดำเนินการวิจัย (Materials and methods) กล่าวถึงการออกแบบกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ทางสถิติโดยเรียบเรียงตามขั้นตอน
7. ผลการวิจัย (Result) รายงานและอธิบายผลที่สำคัญที่เป็นจริงอาจมีตารางและภาพประกอบไม่เกิน 4 ตารางหรือภาพไม่ซ้ำซ้อนกับคำบรรยาย
8. สรุปและอภิปรายผล (Discussion) นำประเด็นที่สำคัญเป็นจริงของผลการวิจัยมาศึกษาอธิบายเรียงตามลำดับที่เสนอในผลว่าเหมือนหรือต่างจากผลการศึกษาของผู้อื่นอย่างไรโดยมีหลักฐานอ้างอิงที่น่าเชื่อถือการนำผลมาประยุกต์ใช้รวมหัวข้อเสนอแนะทางวิชาการ
9. การจัดทำเชิงอรรถและบรรณานุกรม อ้างอิงโดยใช้ระบบแบบนาม-ปี 
(โดยอ้างอิงไม่ควรเกิน 20 เล่ม)

* แบบฟอร์มการเขียนบทความ

* รูปแบบการอ้างอิงแบบนาม-ปี (APA Style)