ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ในเขตพื้นที่อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ในเขตพื้นที่อำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคามใช้แบบสัมภาษณ์ประเมินคุณภาพชีวิตชุดย่อฉบับภาษาไทย(WHOQOL-BREF-THAI) จำนวน 26 ข้อ ใช้ขนาดตัวอย่างแบบประมาณค่าสัดส่วนประชากรได้กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน จำนวน 123 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุดและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและหาปัจจัยความสัมพันธ์โดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 7,000 บาท มีรอบเอวมากกว่า 80 ซม. มีโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคแทรกซ้อน มีระดับน้ำตาลในเลือดเท่ากับหรือมากกว่า 126 mg/dL เมื่อวิเคราะห์ระดับคุณภาพชีวิตพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง และระดับคุณภาพชีวิตมีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านการเกิดโรคแทรกซ้อน(p=0.009) และด้านอายุ (p=0.025) ปัจจัยที่สามารถทำนายคุณภาพชีวิตพบว่าสถานภาพสมรส สถานพยาบาลในรพ.ชื่นชม และการเกิดภาวะแทรกซ้อนสามารถทำนายได้ร้อยละ 12.9
จากผลการวิจัยดังกล่าวควรมีการจัดกลุ่มแกนนำให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อลดการเกิดโรคแทรกซ้อนและมีนโยบายสร้างเสริมกิจกรรมให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมระดับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุด้านร่างกาย จิตใจ สัมพันธภาพทางสังคมและสิ่งแวดล้อมให้มีระดับคุณภาพชีวิตที่ดีและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
Article Details
- บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมายเป็
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์
References
จินตนา สุวิทวัส และเนตรชนก แก้วจันทา. (2552). คุณภาพของผู้สูงอายุโรคเบาหวาน. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 32 (3), 29-38.
ดวงใจ คำคง. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ ตำบลลำสินธุ์ อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยทักษิณ.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2552). สถานการณ์ผู้สุงอายุไทย พ.ศ. 2552. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย.
วิรัติ ปานศิลา. (2554). หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. โครงการตำราหลักสูตรสาธารณสุขศาสตร์มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ศูนย์ข้อมูลสนับสนุนการจัดบริการสุขภาพ .(2559). สาเหตุการป่วยของผู้ป่วยตามกลุ่มโรค 10 อันดับแรก เขตสุขภาพที่ 7 จังหวัดมหาสารคาม ปี 2559. มหาสารคาม:
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.
ศูนย์เบาหวานศิริราช. (2558). ภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังที่หลอดเลือด. กรุงเทพฯ : คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
สง่า สงครามภักดี. (2558). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยเบาหวาน อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 9 (1), 38-46.
สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, และวนิดา พุ่มไพศาลชัย. (2541). แบบวัดคุณภาพชีวิตและองค์ประกอบคุณภาพชีวิต. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2557). การสำรวจประชากรผู้สูงอายุในประเทศ พ.ศ. 2557. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เท๊กซ์
แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.
อรรถเกียรติ กาญจนพิบูลวงศ์. (2559). รายงานสถานการณ์โรค NCDs ฉบับที่ 2 "KICK OFF TO THE GOALS". กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพ
ระหว่างประเทศ.
Makiwane, M. & Kwizera, S. A. (2007). An investigation of quality of life of the elderly in South Africa, with specific reference to Mpumalanga
province. HSRC Human Sciences Research Council. 1 (3-4), 297-311.
Ping, X. , Ningxiu, L. , Kit-Tai, H. , Chaojie, Liu. , & Yubo, Lu. (2012). Quality of Life of Chinese urban community residents: a psychometric study
of the mainland Chinese version of the WHOQOL-BREF. BMC Medical Research Methodology.
WAYNE W. DANIEL. (1998). BIOSTATISTICS: A FOUNDATION FOR ANALYSIS IN THE HEALTH SCIENCES, (7TH EDITION). JOHN WILEY &
SONS, INC.