แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฎิบัติงานของพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต

Main Article Content

ชาตรี เพชรรัตน์
พงศ์กุลธร โรจน์วิรุฬห์

บทคัดย่อ

พนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต เป็นบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นพนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต ปฎิบัติหน้าที่ตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย (2558) เพื่อช่วยเหลือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการจับกุมผู้กระทำความผิด เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่ผู้ประกอบการ หรือบุคคลอื่นจ้างมา เพื่อปฎิบัติหน้าที่ในการดูแลรักษาความปลอดภัย ในชีวิต และทรัพย์สินของบุคคล รวมทั้งระงับเหตุ และรักษาความสงบเรียบร้อยภายในบริเวณ หรือสถานที่ที่รับผิดชอบรักษาความปลอดภัย และแจ้งเหตุการกระทำความผิดทางอาญา หรือน่าเชื่อว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้นให้พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจท้องที่ทราบ รวมทั้งปิดกั้น และรักษาสถานที่เกิดเหตุให้คงสภาพเดิมไว้จนกว่าพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจผู้มีอำนาจหน้าที่จะเดินทางมาถึงสถานที่เกิดเหตุ ลักษณะการทำงานแตกต่างไปจากการทำงานปกติโดยทั่วไป โดยแบ่งเวลาการทำงานออกเป็นผลัด ๆ ละ 12 ชั่วโมง ปฎิบัติงานเฝ้าระวังอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง ขวัญกำลังใจในการปฎิบัติงาน สวัสดิการ และคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับต่ำ


บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการปฎิบัติงาน ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก และเป็นแรงจูงใจที่พนักงานรักษาความปลอดภัยรับอนุญาต จะใช้ความสามารถ และความพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อกระทำในสิ่งต่าง ๆ ให้สำเร็จตามเป้าหมาย เป็นความรู้สึกที่ดีต่องานที่กระทำ และเป็นแรงผลักดัน หรือกระตุ้นให้ปฏิบัติ หรือแสดงพฤติกรรมด้วยความเต็มใจ เพื่อที่จะนำมาซึ่งการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และการให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ขององค์กร

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กระทรวงแรงงาน. (2560). กฎหมายเปิดช่อง…รีดส่วย รปภ. 4 แสนคน. ค้นจาก : http://www.pr.rmutt.ac.th/news/8764.

เกศณรินทร์ งามเลิศ. (2559). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน และ
ลูกจ้างองค์การคลังสินค้า. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

เขียน วันทนียตระกูล. (2553). แรงจูงใจมีความสำคัญต่อการเรียนการสอนอย่างไร. ค้นจาก : http://
www.lanna.mbu.ac.th/artilces/Intrinsic_Kh.asp

เธียรไชย ยักทะวงษ์, และพงศ์กุลธร โรจน์วิรุฬห์. (2563). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการกับอัตลักษณ์
ของนักเรียนนายร้อยตำรวจ. วารสารอาชญากรรมและความปลอดภัย โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
(คณะตำรวจศาสตร์), 2(1), 73-86.
ปานจินต์ สุทธิกวี. (2561). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติธุรกิจรักษาความปลอดภัย
พ.ศ. 2558. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต), บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วัลลภ กิ่งชาญศิลป์. (2559). รปภ. ขาดแคลนแรงงานเข้าขั้นวิกฤต. ค้นจาก : http://news.ch3thailand.
com/economy/19753

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ. ยุทธศาสตร์การพัฒนาขีดความ
สามารถในการแข่งขันของประเทศไทยในระยะยาว. เอกสารแนบวาระที่ 4.3 เสนอคณะ
กรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข). ค้นจาก : https://www.
nesdb.go.th/ewt_dl_link.php?= 3757

สาธิต สุวรรณประกร และสมยศ อวเกียรติ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
รักษาความปลอดภัย สังกัดองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต),
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ.