กการอภิวัฒน์หลักสูตรในยุคการถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ประชากรทุกคนในฐานะผู้ใช้เทคโนโลยี มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องได้รับการปลูกฝังและเตรียมความพร้อมอย่างเข้มข้นเพื่อให้สามารถรับมือการเปลี่ยนแปลงและภาวะแห่งการถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยี หรือ Digital Disruptionทั้งที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งการเตรียมความพร้อมนั้นจำเป็นต้องถูกจัดวางไว้ในระบบการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษาภาคบังคับที่ประชาชนทุกคนจะต้องเข้าสู่กระบวนการทางการศึกษาตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย เพื่อให้มั่นใจว่าประชาชนทุกคนจะได้รับการปลูกฝังทักษะและสมรรถนะที่สำคัญและจำเป็น ระบบการศึกษาและหลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนรู้ในปัจจุบันยังไม่สามารถตอบสนองการจัดการศึกษา เพื่อบ่มเพาะให้ประชากรมีความรู้ สมรรถนะ และทักษะที่จำเป็น ต่อการดำรงชีวิตในยุคการเปลี่ยนแปลงและยุคแห่งการถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีอย่างเป็นรูปธรรม จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการอภิวัฒน์หลักสูตรการจัดการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับการพัฒนาไปของโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านความคิดเชิงวิเคราะห์ สร้างสรรค์ และด้านทักษะการใช้เทคโนโลยี สถานศึกษามีอำนาจที่จะสามารถจัดหลักสูตรการสอนให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ตามกรอบที่กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานฯ เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนหนึ่งที่จะช่วยให้ประชาชนมีคุณลักษณะของพลเมืองในยุคการเปลี่ยนแปลงเพื่อดำรงชีวิตอยู่ในยุค
แห่งความท้าทายนี้ได้อย่างมีความสุข ทั้งนี้ในการแก้ไขปัญหาในระยะยาว กระบวนการจัดการศึกษาทั้งระบบยังจำเป็นต้องได้รับการอภิวัฒน์ตั้งแต่ระดับของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานไปจนถึงระดับหลักสูตรสถานศึกษาทั้งในแง่ของรายละเอียดและข้อกำหนดต่าง ๆ ที่ขาดความยืดหยุ่นซึ่งจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือในทุกระดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระดับสถานศึกษาที่ถือเป็นหน่วยงานระดับฐานรากของการศึกษาในประเทศ บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวคิดในการอภิวัฒน์หลักสูตรที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงไปของโลกในปัจจุบัน เพื่อให้มั่นใจว่าประชาชนจะได้รับการบ่มเพาะคุณลักษณะสำคัญในการเป็นพลเมืองและพลโลกต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- บทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ในวารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมายเป็
- กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์
References
กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550 (2550,16 พฤษภาคม). ราชกิจานุเบกษา, เล่มที่ 124 ตอนที่ 24 ก. หน้า 29.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. เข้าถึงได้จาก). เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565
ฉัตรสิรินทร์ มีสุข และคณะ. (2564). การพัฒนาความเป็นผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพในยุคนิวนอร์มัล. วารสารคุณภาพชีวิตกับกฎหมาย, 17(2), 44-53.
ณัฐวัชร จันทโรธรณ์ และไพโรจน์ ญัตติอัครวงศ์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 9(1), 337-348.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 (2562,1 พฤษภาคม). ราชกิจานุเบกษา, เล่มที่ 136 ตอนที่ 57 ก. หน้า 49.
พิชญ์สินี มะโน. (2562). ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงในยุค DIGITAL DISRUPTION ต่อการศึกษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(1), 1-6.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และคณะ. (2550). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบ CRP. กรุงเทพฯ. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภรณี ศิริวิศาลสุวรรณ. (2562). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างทักษะชีวิตในยุคดิจิทัลสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์ ปร.ด.(หลักสูตรและการสอน). กรุงเทพฯ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยืน ภู่วรวรรณ. ม.ป.ป. ไอทีกับแนวโน้มโลก. เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 จาก
https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/network/tech_it.html.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554. เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 จาก https://dictionary.orst.go.th/.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2563). Digital Disruption และมาตรการรับมือด้าน HR ของภาครัฐ. เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 จาก https://www.ocsc.go.th/blog/2020/02/บทความเรื่อง Digital Disruption และมาตรการรับมือด้าน HR ของภาครัฐ.
สำนักข่าวอินโฟเควสท์. (2555). Analysis: ปิดตำนาน "โกดัก" เหยื่อรายล่าสุดของวิวัฒนาการเทคโนโลยี. เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 จาก https://www.ryt9.com/s/iq01/1326274.
วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์. (2559). เปิดมุมมองปัญหาการศึกษาไทยสู่แนวทางพัฒนาการศึกษาที่มีคุณภาพ. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 3(2), 2-8.
วิกิพีเดีย. ม.ป.ป. คอมพิวเตอร์. เมื่อวันที่ 21 กันยายน 2565 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/คอมพิวเตอร์
Charles Darwin and Leonard Kebler. (1859). On the origin of species by means of natural selection. London. J. Murray. [Pdf] Retrieved from the Library of Congress, https://www.loc.gov/item/06017473/.
John Naisbitt. (1982). Megatrends. New York. Smithmark Pub.
Marut Patphol. (2017). The Model of Learning Management for Curriculum Development
Subjects of Graduate Students. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 7(1), 67-74.
Saylor J.G and et.al. (1981). Curriculum planning for better teaching and learning. New York. Holt, Rinehart and Winston.