การพัฒนาเครื่องมือการวัดทักษะอาชีพของคนในชุมชนฐานรากต่อการสร้างรายได้ในท้องถิ่น เขตพื้นที่อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง

Main Article Content

พงศ์วัชร ฟองกันทา
อัมเรศ เนตาสิทธิ์
เศรษฐวิชญ์ ชโนวรรณ
เบญจมาศ พุทธิมา
สุวรรณี เครือพึ่ง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบเครื่องมือวัดทักษะอาชีพ และ 2) วิเคราะห์พัฒนาการของทักษะอาชีพของคนในชุมชน เขตพื้นที่อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง การวิจัยนี้เป็นการรูปแบบการวิจัยและพัฒนา โดยดำเนินการ 3 ระยะดังนี้ ระยะที่ 1 การสร้างแบบวัดทักษะอาชีพของคนในชุมชน ระยะที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดทักษะอาชีพของคนในชุมชน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลผู้เชี่ยวชาญจำนวน 9 ท่าน จากการเลือกแบบเจาะจง คนในชุมชนจำนวน 30 คน  ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย และระยะที่ 3 การวิเคราะห์ทักษะอาชีพของคนในชุมชนจำนวน 45 คน ได้มาโดยการเลือกแบบอาสาสมัคร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหาด้วยเทคนิค CVR วิเคราะห์ค่าความเที่ยงด้วยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่าแบบวัดทักษะอาชีพมีข้อคำถาม 12 ข้อคำถามผ่านเกณฑ์ค่าความตรงเชิงเนื้อหาและสามารถจำแนกความสามารถของผู้ตอบได้ดี ความเที่ยงของแบบวัดทักษะอาชีพมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาเท่ากับ 0.63 ซึ่งมีค่าความเที่ยงปานกลาง และผลการวัดพัฒนาการทักษะอาชีพของคนในชุมชนพบว่า ทักษะอาชีพของคนในชุมชนหลังจากการได้รับการจัดกิจกรรมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
ฟองกันทา พ., เนตาสิทธิ์ อ., ชโนวรรณ เ., พุทธิมา เ., & เครือพึ่ง ส. (2022). การพัฒนาเครื่องมือการวัดทักษะอาชีพของคนในชุมชนฐานรากต่อการสร้างรายได้ในท้องถิ่น เขตพื้นที่อำเภอสบปราบ จังหวัดลำปาง. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(44), 180–191. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/254466
บท
บทความวิจัย

References

Brewer, L. (2013). Enhancing youth employability: What? Why? and How? guide to core work skills. International Labour Office, Skills and Employability Department. Retrieved August 1, 2021, from https://www.oitcinterfor.org/sites/default/files/file_publicacion/wcms_213452_0.pdf

Changchai, A., Srisuantang, S., & Tanpichai, P. (2017). The development of the agricultural learning activities through community participation: a case study of Kasetsart University Laboratory School, Kamphaeng Sean Campus. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(2), 1544-1560.

Department of skill Development (2018). Skill development quality assurance. Retrieved July 18, 2021, from https://www.dsd.go.th/DSD/Doc?page=4

Division of Rice Research and Development (2016). Rice knowledge bank. Retrieved July 21, 2021, from https://www.ricethailand.go.th/rkb3/

Equitable Education Fund. (2018). Equitable Education Fund Act. Cabinet and royal gazette publishing office. Retrieved July 21, 2021, from http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2561/A/033/1.PDF

Kelley, A. C., & Bridges, C. (2005). Introducing Professional and Career Development Skills in the Marketing Curriculum. Journal of Marketing Education, 27(3), 212-218.

Hendrickson, A., Huff, K., & Luecht, R. (2010). Claims, evidence, and test specification. Applied Measurement in Education, 23(4), 358-377.

Johnson, D. W. (1993). Reaching out: Interpersonal effectiveness and self-actualization (5th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Kanchanawasri, S. (2009). Classical Test Theory (6th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.

Kholis, N, Kartownagiran, B., & Mardapi, D. (2020). Development and validation of an instrument to measure a performance of vocational high school. European Journal of Educational Research, 9(3), 955- 966.

Lawshe, C. H. (1975) A Quantitative Approach to Content Validity. Personnel Psychology, 28, 563-575.

Lertwathanawanit, S. (2017). The development of activities for learner’s development by project-based learning to enhance career skills and career attitudes for high school students (Master of Education). Graduates school: Silpakorn University.

McClelland, D.C. (1985). How motives, skills, and values determine what people do. American Psychologist, 40(7), 812-825.

Pasiphol, S., (2013). Educational measurement and evaluation. Bangkok: Chulalongkorn University.

Phornprasert, W., Parnichparinchai, T., Prachanban, P., & Ongardwanich, N. (2020). The development of student digital citizenship scale and norms in higher education institutions. Journal of Education Naresuan University, 22(3), 217-234.

Super, E. D., & Crites, O. J. (1968). Appraising Vocational Fitness. Delhi: Universal Book Stall.