มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 กับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

Main Article Content

กัญญาภัทร ธาดาวรวงศ์
เสถียรภาพ นาหลวง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาเกี่ยวกับ 1. การหามาตรการทางกฎหมายเพื่อนำมาบังคับใช้กับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ 2. การให้ความหมายหรือคำนิยาม 3. การจดทะเบียน 4. การกำหนดคุณสมบัติของผู้ขับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ 5. การประกันภัย และ 6. การกำหนดเงื่อนไขหลังการได้รับอนุญาตให้ใช้หรือทดสอบ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยทำการรวบรวมกฎหมายเกี่ยวกับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติของประเทศอังกฤษและประเทศสิงคโปร์มาทำการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อนำมาเสนอ แนวทางแก้ไข เพิ่มเติม ปรับปรุงหรือบัญญัติกฎหมายเพื่อนำมาบังคับใช้กับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติในประเทศไทย ซึ่งจากศึกษากฎหมายเกี่ยวกับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติของทั้งประเทศอังกฤษและประเทศสิงคโปร์ พบว่า 1. ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายใดที่สามารถนำมาปรับใช้กับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติได้ 2. ไม่มีคำนิยามใดที่สามารถนำมาปรับใช้กับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติได้ 3. รถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติไม่สามารถจดทะเบียนได้ตามกฎหมายไทย 4. การกำหนดคุณสมบัติของผู้ขับรถสามารถใช้บังคับกับรถยนต์ที่มีคนขับเท่านั้น 5. การประกันภัยรถยนต์ตามกฎหมายไทยไม่เอื้อต่อการนำมาบังคับใช้กับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ และ 6. การกำหนดเงื่อนไขหลังการได้รับอนุญาตให้ใช้รถยนต์ไม่สามารถนำมาบังคับใช้กับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติได้

Article Details

How to Cite
ธาดาวรวงศ์ ก., & นาหลวง เ. (2022). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการบังคับใช้พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 กับรถยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(44), 89–102. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/254997
บท
บทความวิจัย

References

Baker Mckenzie. (2018). Global Driverless Vehicle Survey 2018. Retrieved December 29, 2020, from https://www.bakermckenzie.com/-/media/files/insight/publications/2018/03/global-driverless-vehicle-survey-2018/mm_global_driverlessvehiclesurvey2018_mar2018.pdf

Butr-indr, B. (2020). Legal Challenges in the IOTs: Case Study of Smart Car’s Liability. Bangkok: Thammasat University.

Chaimongkol, C. (2017). Director of the New Generation, Clear Strategy. OSHE Magazine. Retrieved May 12, 2021, from http://164.115.27.97/digital/files/original/5415e708f29c5c824929e8124fa23c03.pdf

CNA. (2017). Regulations in Place to Ramp up Driverless Vehicle Trials in Singapore. Retrieved October 25, 2020, from http://www.channelnewsasia.com/news/singapore/regulations-in-place-to-ramp-up-driverlessvehicle-trials-in-sin-7622038

Digital Economy Promotion Agency [DEPA]. (2017). Tech Series: Electric and Autonomous Cars. Retrieved September 1, 2021, from https://www.depa.or.th/th/article-view/tech-series- electric-and-autonomous-cars

Keeratipranon, N. (2011). Unmanned Ground Vehicle(Research report). Bangkok: Dhurakij Pundit University.

Publications Office of the European Union. (2018). A Common EU Approach to Liability Rules and Insurance for Connected and Autonomous Vehicles. Retrieved May 1, 2021, from https://op.europa.eu/en/publication-detail/-/publication/df658667-20f1-11e8-ac73- 01aa75ed71a1/language-en

Road Traffic Act, 2017 (Chapter 276). Road Traffic (Autonomous Motor Vehicles) Rules 2017. Singapore Statutes Online. Retrieved March 29, 2021, from https://sso.agc.gov.sg /SL/RTA1961-S464-2017?DocDate=20170823

UK Parliament. (2017). Automated and Electric vehicles Bill. Retrieved May 1, 2021, from https://publications.parliament.uk/pa/bills/cbill/2017-2019/0112/18112.pdf

UK Parliament. (2018). Automated and Electronic Vehicles Act 2018. Retrieved September 10, 2021, from https://commonslibrary.parliament.uk/research-briefings/cbp-8118/

Vehicle Act, B.E. 2522(1979) (1979, May 12). Government Gazette. Volume 96 Chapter 77 Special Issue, pp.22.