การพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดไฮสโคป โรงเรียนสังกัดเครือข่ายกรูด ป่าร่อน คลองสระ อำเภอกาญจนดิษฐ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1

Main Article Content

ศิราณี ชูมี
บรรจง เจริญสุข
สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  2) พัฒนาครู และ3) ประเมินผลการพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยตามแนวคิดไฮสโคป โรงเรียนสังกัดเครือข่ายกรูด ป่าร่อน คลองสระ อำเภอกาญจนดิษฐ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ตามแนวคิดของ Kemmis and McTaggart กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูปฐมวัย 10 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจ แบบทดสอบ แบบประเมินความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินทักษะ และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครู โดยรวม  อยู่ในระดับปานกลาง 2) ผลการพัฒนาครูโดยการประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป มากขึ้น โดยคะแนนเฉลี่ยหลังการพัฒนามีค่ามากกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ 3) ผลการประเมินการพัฒนาครู พบว่า (1) ความรู้ความเข้าใจการเรียนรู้ของครูตามแนวคิดไฮสโคป โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (2) ทักษะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนวคิดไฮสโคป โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  และ (3) ความพึงพอใจการต่อการพัฒนาครูตามแนวคิดไฮสโคป โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 

Article Details

How to Cite
ชูมี ศ., เจริญสุข บ., & สังข์ขาวสุทธิรักษ์ ส. (2022). การพัฒนาครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ตามแนวคิดไฮสโคป โรงเรียนสังกัดเครือข่ายกรูด ป่าร่อน คลองสระ อำเภอกาญจนดิษฐ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(45), 115–127. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/255132
บท
บทความวิจัย

References

Budsopha, A. (2017). The Educational Management of Early Childhood Level for Development Child Center under the Local Administrative Organization, Journal of Roi Kaensarn Academi, 2(2),1-15.

Chatakarn, V. (2015). Action Research. Suratthani Rajabhat Journal, 2(1), 29-49.

Jeenawathana, A. (2016). Self-Development of Professional Teacher, Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 1379-1395.

Jitchatree, M. (2018). Development of Science Process Skills for Third Year Reschoolers at Tassaban 4 (Ruttanagosin 200 Years) School Using High/Scope Approach(Master’s Thesis). Sakon Nakhon Rajabhat University.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

Ngamkanok, S. (2019). High Scope Learning Management. Journal of Association of Professional Development of Educational Administration of Thailand, 1(2), 59-66.

Nittaya, S. (2016). A Teacher Development Model for Learning Management in Mathematics Learning Substance Department of Schools under the Secondary Educational Service Area Office 23(Master's Thesis). Sakon Nakhon Rajabhat University.

Office of the Basic Education Commission, Bureau of Academic Affairs and Education Standards. (2018). A Manual for Early Childhood Education Curriculum, B.E. 2560, for Children Aged 3-6 years. Bangkok: Agricultural Cooperative Printing Demonstrations of Thai co., Ltd.

Office of the Education Council. (2007). Learning of Thai Early Childhood Children According to the Concept of High-scope (2nd ed). Bangkok: VTC Commucation.

Office of the Education Council. (2017). Early Childhood Development Plan 2017-2021. Bangkok: Office of the Education Council.

Nuntharach, N. (2020). The Development of Basic Thinking Skills of Early Childhood Based on Learning Experiences Integrating High Scope Concept and Educational Games(Master's Thesis). Sakon Nakhon Rajabhat University.

Sakolhong, P. (2020). Management of Early Childhood Education at Ban Nong Son School Kamphaeng Saen District Nakhon Pathom Province. Retrieved December 14, 2020, from http://www.thongsook.ac.th/main/admin/uploads/FacultyOfGrad/1135-file-researchstd1.pdf

Sangthong, S. (2017). Problems and Needs of Teacher in Development of Early Childhood Education Management of School under Rayong Primary Educational Service Area Office 1. (Master's Thesis). Burabha University.

Sungrugsa, N., Boonkoum, W., & Pongtiyapaiboon, S. (2018). The Professional Teachers Development by Research from Continually Learning Experience with Creativity Academic Quality. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 11(1), 1739-1759.

Surasak, Y. (2015). Need of Teachers on Personnel Development in Wangnamyenwittayayakom School under Secondary Educational Service Area Office 7(Master's Thesis). Burabha University.

Yakaew, C., Issaramanorose, N., Piyajitti, A., Siriprichayakorn, R., & Yokin, J. (2017). Parental Involvement in Promoting Early Childhood Learning Child Development Center Eastern Region. Bangkok: Suan Dusit Rajabhat University.