รูปแบบการบริหารจัดการการเรียนรู้โดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาที่ยั่งยืนสำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการการเรียนรู้ และ 2) เพื่อทดลองใช้และประเมินรูปแบบการบริหารจัดการการเรียนรู้ โดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาที่ยั่งยืน สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงปริมาณควบคู่กับการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเชิงคุณภาพมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน เลือกแบบเจาะจง สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง กลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 101 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการบริหารจัดการการเรียนรู้โดยใช้เครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาที่ยั่งยืน สำหรับโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย (1) การจัดการเรียนรู้ ได้แก่ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ การผลิตและการใช้สื่อ นวัตกรรม แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย การวัดและการประเมินผลด้วยวิธีการที่หลากหลาย และการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ (2) เครือข่ายความร่วมมือ ได้แก่ ขั้นตระหนักถึงความจำเป็น ขั้นสร้างข้อตกลง ขั้นบริหารจัดการ ขั้นการขยายเครือข่ายความร่วมมือ ขั้นรักษาสัมพันธภาพที่ดี และขั้นติดตามและประเมินผล (3) การพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาที่ยั่งยืน ได้แก่ การกำหนดนโยบาย ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารและครู และการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง และ 2) ผลการทดลองใช้และประเมินรูปแบบฯ โดยรวมมีความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
Bunpong, N., Rupan, P., & Chanawat, P. (2017). A Proposed Model for School Network Management of the Primary Educational Service Area Office. Phetchabun Rajabhat Journal, 19(1), 14-21.
Bureau of Academic Affairs and Education Standards, Ministry of Education. (2010). Guidelines for Organizing Activities for Student Development According to the Core Curriculum of Basic Education, B.E. 2551 (2008) (2nd ed.) Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.
Dachakupt, P., & Yindeesuk, P. (2015). Learning Management in the 21st Century (2nd ed.). Bangkok: Chulalongkorn University.
Department of Education Bangkok Metropolitan Administration. (2016). Bangkok Basic Education Development Plan, No. 2 (B.E. 2560-2563 (2017-2020)). Retrieved from http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFOCENTER9/DRAWER013/GENERAL/DATA0000/00000194.PDF
Department of Education Bangkok Metropolitan Administration. (2020). Bangkok Educational Management Report 2019. Bangkok: The Agricultural Cooperative Federation of Thailand.
DuBrin, A. J. (2019). Leadership: Research, Findings, Practice, and Skills (9th ed.). New York: Cengage Learning.
Harakunarak, A. (2009). Knowledge for the People Sustainable Development Education Series: Think, Look, Predict About “Education for Sustainable Development in the Thai Context”. Nonthaburi: Thailand Environment Institute (TEI).
Ministry of Education. (2019). National Education Act of B.E. 2542 (1999), and Amendments (Second National Education Act B.E. 2545 (2002), and Amendments (Third National Education Act B.E. 2553 (2010), and Amendments (Four National Education Act B.E. 2562
(2019). Bangkok: Ministry of Education.
Ngourungsi, K. (2016). Education for Sustainable Development (ESD). Journal of the Association of Researchers, 21(2), 13-18.
Nilkaewbowonvit, P. (2016). Model of Academic Cooperation Network Development of Primary Educational Service Area Offices under Office of the Basic Education Commission. Journal of Education, 27(3), 18-32.
Phongaksorn, S., Sikkhabandit, S., & Sithiamorn, P. (2018), A Quality Management Model of Basic Education Institution Management towards to International Standard. Academic Journal of North Bangkok University, 7(2), 198-212.
Saavedra, A. R., & Opfer, V. D. (2012). Nine Lessons on How to Teach 21st Century Skills and Knowledge. Retrieved from https://www.rand.org/blog/2012/10/nine-lessons-on-how-to-teach-21st-century-skills-and.html
Sornpukde, B., Chatrupracheewin, C., & Chaemchoy, S. (2016). Model of a Collaboration Network Designed for Educational Management at Municipal Schools. Journal of Education Naresuan University, 18(4), 99-113.
Starkey, P. (1997). Networking for Development. London: IFRTD[The International Forum for Rural Transport and Development].
Suwannako, S., Aekakul, T., & Soinom, S. (2015). Model of Academic Educational Quality Development Network for Primary School. Srinakharinwirot Academic Journal of Education, 16(2), 128-137.
Thepkraiwun, P. (2011). The Development of Collaborative Network Model for Educational Quality Management in Small Sized Primary Schools(Doctor of Philosophy). Khon Kaen University.