คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน ที่สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานในภาคอุตสาหกรรมการบิน

Main Article Content

สุชารัตน์ ศศิพัฒนวงษ์
บรรพต ชมงาม
กานต์ ตรีธนะกุล
พันเทพ ทอเพ็งภูมาลัย
สุบัญชา ศรีสง่า

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาฝึกงานสาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน และเสนอแนะแนวทางการเตรียมความพร้อมของนักศึกษาฝึกงานก่อนเข้าสู่การฝึกปฏิบัติงานจริง โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักศึกษาสาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบินของมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง จำนวน 139 คน ใช้วิธีการสุ่ม (Random sampling technique) ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดด้วยตนเอง โดยใช้แบบสอบถามคุณลักษณะอันพึงประสงค์นักศึกษาฝึกงานสาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง และเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 4 โดยมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่ได้รับคะแนนเฉลี่ยมากที่สุด ทุกด้าน เรียงลำดับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ จากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านทัศนคติ ความรับผิดชอบ ความตรงต่อเวลา การประยุกต์ใช้องค์ความรู้ ความสำเร็จของงาน ทักษะการแก้ปัญหา การสื่อสารและด้านมนุษยสัมพันธ์ ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมคือ ควรปรับปรุงด้านการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น คอมพิวเตอร์และโปรแกรมพื้นฐาน โดยเฉพาะโปรแกรมสำนักงาน และความกล้าแสดงออก การวิจัยครั้งนี้ได้ถอดบทเรียนจากผลการฝึกปฏิบัติงานมาปรับปรุง และพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรายวิชาการเตรียมฝึกประสบการณ์ อันจะเป็นประโยชน์แก่นักศึกษาในอนาคต

Article Details

How to Cite
ศศิพัฒนวงษ์ ส., ชมงาม บ., ตรีธนะกุล ก., ทอเพ็งภูมาลัย พ., & ศรีสง่า ส. (2024). คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาสาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน ที่สอดคล้องกับความต้องการของหน่วยงานในภาคอุตสาหกรรมการบิน. วารสารรัชต์ภาคย์, 18(56), 168–180. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/267221
บท
บทความวิจัย

References

Agsornpim, P., Sinraksa, D., & Vongkrachang, S. (2019). Satisfaction of the Establishments for the English Major Prior Student Trainees, Faculty of Humanities and Social Sciences, Songkhla Rajabhat University. In Husoc Conference 2019 2nd Faculty of Humanities and

Social Sciences “Humanities and social sciences Social Creation Innovation”, 5-6 August 2019, 359-371.

Benjarattananon, A. (2017). Satisfaction of the Establishments for the English Major Trainee Students, Faculty of Humanities and Social Sciences, Prince of Songkla University. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 28(2), 184-194. DOI: http://dx.doi.org/10.14456/asj-psu.2017.36

Budseeta, P. (2017). Approaches to Learning Management in the 21st Century. Faculty of Management Science, Kamphaeng Phet Pajabhat University. https://fms.kpru.ac.th/pr-all/pr-km/pr-km-2560/4908/

Gibson, J.H., John, M.I., & James H.D. (1982). Organizations: Behavior structure and Processes (4th ed.). Buusiness Publications.

Kaewsamut, K.N. (2019). Desired Charistics of English Students Internship by Attitude of the Organizations. Humanities and Social Sciences Journal, Ubon Ratchathani Rajabhat University, 10(2), 270-280. https://so01.tci-thaijo.org/index.php/humanjubru /article/view/212013

School of Humanity and Tourism Management, Bangkok University. (2020). Bachelor of Arts (Airline Business Management). Bangkok University.

Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. (2022). Higher Education Plan to Produce and Develop the National Manpower 2021-2027, Revised 2023-2027. https://www.mhesi.go.th/index.php/news-and-announce-all/pr/announcement-news/ 8464-2564-2570-2566-2570.html

Oonnang, K. (2018). The 21Th Century Teacher Roles in Active Learning Model. Chiang Mai University, THAILAND. http://www.cmruir.cmru.ac.th

Phathumsud, H. (1999). Satisfaction with the Performance of Nurses Phitsanulok Provincial Community Hospital[Master’s thesis, Srinakharinwirot University].