บทบรรณาธิการ

วารสารรัชต์ภาคย์ ปีที่ 18 ฉบับที่ 56 มกราคม – กุมภาพันธ์ 2024 เป็นวารสารที่เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ โดยทางกองบรรณาธิการได้รักษามาตรฐานตามกรอบของวิชาการ พร้อมทั้งดำเนินงานเพื่อผลักดันและพัฒนาคุณภาพของบทความวิชาการและบทความวิจัย ตามมาตรฐานของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)

ในปี 2566 ประเทศไทย ได้มีความพยายามฟื้นฟูการท่องเที่ยว หลังจากที่เกิดโรคระบาด COVID-19 โดยการใช้ Soft Power เข้ามาเป็นกลไกหลักในการดำเนินการของรัฐบาล ซึ่ง Soft Power คือ การเผยแพร่วัฒนธรรมที่ทำให้ผู้อื่น “ต้องการ” และ “ยอมรับ” อย่าง “เต็มใจ” โดยเจ้าของแนวคิดนี้ คือ ดร. โจเซฟ เนย์ (Joseph Nye) ซึ่งได้รับการกล่าวถึงมากในหลายปีที่ผ่านมานี้ โดยสามารถสร้างอำนาจต่อรองในระดับนานาชาติ ผ่านการดึงดูดทางวัฒนธรรมด้วยสื่อการท่องเที่ยว เพื่อแทรกซึมชุดความคิดและภาพลักษณ์ (National Branding) ที่ประเทศนั้นต้องการให้ทั่วโลกจดจำ การเล็งเห็นความสำคัญของการผลักดัน Soft Power และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทย (Creative Economy) เป็นหนึ่งในฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และขยายศักยภาพสู่การส่งออกในระดับสากล จึงมีโครงการ 5F ที่จัดหมวดหมู่ความน่าสนใจไว้ คือ 1) Food อาหารไทย 2) Film ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ 3) Fashion การออกแบบแฟชั่นไทย 4) Fighting ศิลปะการป้องกันตัวแบบไทย หรือมวยไทย และ 5) Festival เทศกาลประเพณีไทย

โดยบทความวิจัยที่น่าสนใจในฉบับนี้ เรื่อง “บุพปัจจัยที่ส่งผลต่อการบอกต่อทางอิเล็กทรอนิกส์ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อแหล่งท่องเที่ยวเมืองรอง “พหุวัฒนธรรม” การท่องเที่ยวโดยชุมชนหลังวัดโรมันจังหวัดจันทบุรี: บทบาทของตัวแปรส่งผ่านประสบการณ์ที่น่าจดจำและความพึงพอใจ” ของ วัชราภรณ์ ขายม  มีองค์ความรู้ใหม่ โดยเน้นปัจจัยการแสวงหาความแปลกใหม่ การร่วมสร้างประสบการณ์และภาพลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นสิ่งกระตุ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่มีกลิ่นอายทางวัฒนธรรมอันหลากหลายของการอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างมีอัตลักษณ์ที่โดดเด่น ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดของนักท่องเที่ยวผ่านประสบการณ์ที่น่าจดจำและความพึงพอใจ อันเป็นการทำความเข้าใจและปรับปรุงความทรงจำเชิงบวกของนักท่องเที่ยว ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เหมาะสมในการส่งเสริมความได้เปรียบทางการแข่งขันตลาดการท่องเที่ยว จากนั้นนักท่องเที่ยวแสดงพฤติกรรมการตอบสนองออกมาด้วยการบอกต่อทางอิเล็กทรอนิกส์ ถือเป็นเป้าหมายการตลาดการท่องเที่ยวที่ประสบความสำเร็จอย่างยั่งยืนในแหล่งท่องเที่ยว

mceclip0.png

ภาพข้างต้นแสดงถึงองค์ความรู้ใหม่แบบจำลองการบอกต่อทางอิเล็กทรอนิกส์ของนักท่องเที่ยวจากกรอบแนวคิดการวิจัยที่พัฒนาขึ้นตามทฤษฎีและข้อมูลเชิงประจักษ์ โดย วัชราภรณ์ ขายม

ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้สามารถแสดงให้เห็นถึงภาพของการใช้พหุวัฒนธรรม เป็นกลไกในการสร้างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวผ่านประสบการณ์ที่น่าจดจำและความพึงพอใจ ที่แฝงอยู่ในนโยบายด้าน Soft Power ของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี

ทางกองบรรณาธิการวารสารรัชต์ภาคย์ พร้อมสนับสนุนนักวิชาการ อาจารย์ รวมไปถึงนักศึกษาที่มีความสนใจในการเผยแพร่บทความวิจัยและบทความวิชาการ เพื่อเสริมคุณค่าและพัฒนาคุณภาพงานทางวิชาการในระดับชาติระดับนานาชาติ และก่อให้เกิดประโยชน์แก่สังคมส่วนรวม

ดร. ธันยนันท์ จันทร์ทรงพล

บรรณาธิการ

 

Published: 2024-02-29

The Creation of Model for the Business of Raft Accommodations in the Dams of Thailand

Sophawan Treesuwan, Kununya Benjawan, Panprae Bunyapukkna

68 - 91

The Antecedents of Advocacy to Bib Gourmand by Michelin-Starred Restaurants in Bangkok

Varinya Puranitee, Prayong Meechaisue, Kaewta Poopatanapong

129 - 148

Supply Chain Management of Restaurant Service Business: Case Study Ban Rong Sala Community

Pitthinan Somchaiwong, Jirayu Tongjai, Sudarat Panyakam, Worapitcha Jomkaew

149 - 167

Desirable Characteristics of Airline Business Management Students Corresponds to the Needs of Agencies in the Aviation Industry

Sucharat Sasipattanawong , Banphot Chomngarm, Karn Tritanakul, Phunthep Thorpengphumalai, Subuncha Srisanga

168 - 180

Lesson Learned from the M/V “Norstar” Case Between Panama and Italy on the Freedom of Navigation in High Sea

Sumullika Dowsuwan, Rinyapath Na Songkhla, Panuwat Pankaew, Ajirawadee Laoaon

405 - 415

TPACK Model Online Learning

Benjamaporn Chantorn, Supakchaya Chiangnoon, Yongyut Tanboriboon, Worawat Songwiwat

434 - 450

Guidelines for Promoting Sustainable Democratic Development

Nathamon Muckchim, Sirisuda Saengthong

451 - 463

An Analysis of Problems on the Origin of Written Laws: A Case Study of Thailand

Sittikorn Saksang, Kittipich Sopa, Kasidid Buapetch

495 - 508