ปัญหาและมาตรการกันบุคคลไว้เป็นพยานของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย

Main Article Content

อนุรัญญาฑ์ ตันพชราติวานนท์

บทคัดย่อ

เนื่องจากประเทศไทยมีบทบัญญัติตามกฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานในการกันบุคคลไว้เป็นพยานไว้หลายบทบัญญัติไม่ว่าจะเป็นระเบียบการตำรวจเกี่ยวกับคดี ลักษณะที่ 8 บทที่ 7 ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข้อ 257 และข้อ 258 และระเบียบสำนักงานอัยการสูงสุดว่าด้วยการดำเนินคดีอาญาของพนักงานอัยการ พ.ศ. 2563 ได้มีการบัญญัติเกี่ยวกับการกันผู้ต้องหาเป็นพยานไว้ในลักษณะที่ 2 ส่วนที่ 10 ข้อที่ 81 การกันผู้ต้องหาเป็นพยาน และข้อ 82 การสอบสวนผู้ต้องหาที่สั่งไม่ฟ้องเป็นพยาน บทบัญญัติตามกฎหมายให้อำนาจเจ้าพนักงานในการกันบุคคลไว้เป็นพยานในคดีพิเศษอื่น ๆ ดังนี้ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการมีส่วนร่วมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ พ.ศ. 2556 มาตรา 23, พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ พ.ศ. 2561 (ป.ป.ช.) มาตรา 135 และประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการกันบุคคลไว้เป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดี พ.ศ. 2561 ข้อ 5, และพระราชบัญญัติมาตรการของฝ่ายบริหารในการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2551 (ป.ป.ท.) มาตรา 58 และประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการกันบุคคลหรือผู้ถูกกล่าวหาไว้เป็นพยานโดยไม่ดำเนินคดี พ.ศ. 2560 วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาปัญหาเกี่ยวกับการกันบุคคลไว้เป็นพยานตามกฎหมายไทย แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการกันบุคคลไว้เป็นพยาน และหลักเกณฑ์และวิธีการการกันบุคคลไว้เป็นพยาน ผู้วิจัยจึงเสนอแนะให้มีการบัญญัติมาตรการกันบุคคลไว้เป็นพยานโดยบัญญัติเพิ่มเติมไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 136/1 ถึง มาตรา 136/5 อีกทั้ง บัญญัติเพิ่มเติมในส่วนของคดีพิเศษอื่น ๆ เข้าบรรจุในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาและเห็นสมควรกำหนดให้มาตรการกันบุคคลไว้เป็นพยาน ดังกล่าวนี้ สามารถใช้ได้กับทุกประเภทคดี แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าไม่สามารถแสวงหาพยานหลักฐานอื่นใดที่จะนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษตามกฎหมายได้ โดยนำหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการปฏิบัติต่าง ๆ ของต่างประเทศมาปรับใช้

Article Details

How to Cite
ตันพชราติวานนท์ อ. (2024). ปัญหาและมาตรการกันบุคคลไว้เป็นพยานของหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย. วารสารรัชต์ภาคย์, 18(56), 478–494. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/269407
บท
บทความวิชาการ

References

Beccaria, C. (1986). On Crimes and Punishments (Translated, Devid Young). Hackett.

Chuathai, S. (1995). Philosophy of Law. Winyuchon.

Kwanmuang, K. (2007). Advanced Criminal Law. Winyuchon.

Levy, L. W. (1968). Origins of the Fifth Amendment. Oxford University.

Markman, S. J. (1986). Miranda v. Arizona: A Historical Perspective. American Criminal Law Review, 24, 193.

Meenakanit, T. (1987). Offences to Theft. Journal of Law, 2(16), 36-37.

Na Nakhon, K. (2010). General Criminal Law (4th ed.). Winyuchon.

Nirasanaphapai, P. (2022). Granting Immunity for Prosecution to the Accomplices or Suspects in Special Cases for the Purpose of Legal Development. Department of Special Investigation, Ministry of Justice.

Phakharat, W. (2012). Legal State and Rule of Law. https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/272/files/S%E0%B9%88ub_Jun/3journal/b142%20jul_9_1.pdf

Phonkul, P. (2003, January 6). Legal State and Civil Society. Public Law Net. http://public-law.net/publaw/view.aspx?id=651

Polaratana, K. (1991). The Application of the Procedure of Excluding Accomplices to the Investigation of the Commission of Counter Corruption[Master’s thesis, Chulalongkorn University].

Srisanit, P., Komlarachun, K., Sornrat, N., & Bunmee, R. (2020). Developing Legal Measures to Prevent and Suppress Corruption. Thailand Science Research and Innovation (TSRI).

Stone, J. (1950). The Province and Function of Law. Harvard University.

Suwadikul, U. (2013). Seeking Evidence in Special Cases: The Study of Immunity from Prosecution in Exchange for the Implicated Testimony of the Accused[Master’s thesis, Dhurakij University].

Tangsripairot, P. (2014, April, 28). Guidelines for Investigating Cases where Investigators Deter Offenders or the Accused is a Witness, and the Law does not Prohibit Listening to the Complaints of those Who Participated in the Crime or the Accused. Department of Special Investigation: DSI. https://www.dsi.go.th

Timsuwan, S. (1981). The Public Prosecution Department and the Prosecution of Criminal Cases for the State. National Defence College of Thailand.