การยอมรับนวัตกรรมทางการเงินของประชาชนกลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ในอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ

Main Article Content

ดรินทิพย์ มรรคา
พรพนา ศรีสถานนท์
อนิรุทธิ์ ผ่องแผ้ว
พุฒินันท์ คล้ายสุด

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเทคโนโลยีทางการเงินด้านที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงิน 2) ศึกษาการยอมรับนวัตกรรมทางการเงินในการทำธุรกรรมทางการเงิน และ 3) ศึกษาปัจจัยเทคโนโลยีทางการเงินกับการยอมรับนวัตกรรมทางการเงินในการทำธุรกรรมทางการเงินของประชาชนกลุ่มเจเนอเรชั่น
เบบี้บูมเมอร์ ในอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่างเป็นลูกค้าธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ ในอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test, One-way ANOVA และการถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยเทคโนโลยีทางการเงินด้านที่เกี่ยวกับการทำธุรกรรมทางการเงินของประชาชนกลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ ในอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ มากที่สุด คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มขึ้น รองลงมา คือ ด้านความเข้ากันได้ 2) การยอมรับนวัตกรรมทางการเงินในการทำธุรกรรมทางการเงิน ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการรับรู้ความง่ายต่อการใช้งาน และ 3) ปัจจัยเทคโนโลยีทางการเงิน ด้านการสังเกตเห็นผลได้ ด้านความเข้ากันได้ ด้านประโยชน์ที่ได้รับเพิ่มขึ้น ด้านการทดลองใช้ได้ มีการยอมรับนวัตกรรมทางการเงินในการทำธุรกรรมทางการเงินของประชาชนกลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ ในอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


 

Article Details

How to Cite
มรรคา ด., ศรีสถานนท์ พ., ผ่องแผ้ว อ., & คล้ายสุด พ. (2025). การยอมรับนวัตกรรมทางการเงินของประชาชนกลุ่มเจเนอเรชั่นเบบี้บูมเมอร์ในอำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารรัชต์ภาคย์, 19(62), 263–276. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/273718
บท
บทความวิจัย

References

Abubakar, F.M., & Ahmad, H. (2014). Determinants of behavioural intention to use e-payment system in Nigerian retail industry: A conceptual extension of UTAUT with concern for customers. International Journal of Contemporary Business Management, 1(1), 87-93.

Chuchuen, N., Kunasupakul, R., & Chummuangpak, P. (2017). Factors affecting the use of financial transactions via mobile phones (Mobile Banking) of commercial banks in Thailand. Journal of Management Science Review, 19(2), 37-46.

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. Harper & Row.

Department of Older Persons (DOP). (2023). Statistics on the elderly in Thailand, 77 provinces as of December 31, 2023. https://www.dop.go.th/th/know/1

Junadi, J., & Sfenrianto, S. (2015). A model of factors influencing consumer's intention to use E-payment system in Indonesia. Procedia Computer Science, 59, 214-220.

Palaboon, P. (2015). Innovation and technology acceptance, technology usage, and customer behavior affecting people’s intention to use PromptPay financial service of Thai government[Independent studies, Master of Business Administration, Bangkok University].

http://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/2482

Population Reference Bureau. (2012). 2012 World Population Data Sheet. https://www.prb.org/wp-content/uploads/2012/07/2012-population-data-sheet_eng.pdf

Ngamkaiwan, W. (2014). Factor affecting the acceptance to innovative electronic book of Thai consumers. Journal of Business Administration the Association of Private Higher Education Institutions of Thailand, 3(2), 61-69. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/95115

Office of Registration Administration, Department of Provincial Administration. (2023). Population statistics by civil registration. https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMenu/newStat/home.php

Office of the Public Sector Development Commission. (2018). Innovation in the Thai public sector. http://psicthai.com

Rogers, E. (1983). Diffusion of innovation (3rd ed.). Free Press.

Sawangsaeng, P. (2016). Acceptance of innovations that affect acceptance of the Apple Watch product among Gen Y consumers in the Bangkok area. In The 12th NU Research and innovation for national development. 21-22 July 2016. Naresuan University.

Tirakoat, S., & Polnigongit, W. (2018). Internet usage behaviors, literacy, and attitude towards utilization of wellness content on the internet among Thai elderly. Journal of Nursing and Health Care, 36(1), 72-80. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/jnat-ned/article /view/127046

Venkatesh, V. et al. (2003). User acceptance of information technology: towards a unified view. MIS Quarterly, 27, 425-478. https://doi.org/10.2307/30036540

Waroonkun, S., & Waenkaeo, K. (2017). Culture and application of e-tax invoice in Thailand: a case study of companies in the stock exchange of Thailand. Faculty of Business Administration, Maejo University.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper and Row.