ความต้องการพัฒนาศักยภาพของผู้บริหารองค์กรตัวแทนประกันชีวิต บริษัท เอไอเอ ประกันชีวิต จำกัด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง ความต้องการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารองค์กรตัวแทนประกันชีวิต บริษัท เอไอเอ จำกัด เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารองค์กรตัวแทนประกันชีวิต บริษัท เอไอเอ จำกัด จำนวน 217 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น .873 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ความต้องการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารองค์กรตัวแทนประกันชีวิต บริษัท เอไอเอ จำกัด ในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน ทั้งด้านความรู้ทักษะความสามารถในการปฏิบัติงาน ทักษะในสายอาชีพ ทัศนคติ 2) ความต้องการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารองค์กรตัวแทนประกันชีวิต บริษัท เอไอเอ จำกัด แตกต่างกัน เมื่อ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพของผู้บริหารองค์กรตัวแทนประกันชีวิตแตกต่างกัน 3) ปัจจัยสนับสนุนในภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับความต้องการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารองค์กรตัวแทนประกันชีวิต บริษัท เอไอเอ จำกัด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านความรู้เฉพาะในสายอาชีพ และด้านความสามารถในการจูงใจ และความจำเป็นในการพัฒนาตนเอง มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับความต้องการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารองค์กรตัวแทนประกันชีวิต บริษัท เอไอเอ จำกัด ที่ระดับนัยสำคัญ 0.01
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
Bangmo, S. (2010). Organization and management. Bangkok: Witthayaphattana.
Saengarwut, J., & Jinda, P. (2008). A Trend for Staff Personnel Development, Prince of Songkha University Suratthani Campus. Songkha: Prince of Songkha University.
Gilley, J. W., & Eggland, S. A. (1992). Principle of Human Resource Development. New York: McGraw-Hill.
Impression. (2019). Executive potential. Retrieved from http://www.impressionconsult.com/web/index.php/article-hr/1247-article-hr-executivePotentialDevelopment.html.
Marrelli, A. F. (1998). An introduction to competencyanalysis and modeling. Performance Improvement, 37(5), 8–17.
Nadler, L., & Nadler, Z. (1989). Developing human resources (3rd ed.). San Francisco: Jossey-Bass.
Office of the Securities and Exchange Commission. (2018). Statistics of investment analysts. Retrieved from https: //www.sec.or.th/EN/Pages/Home.aspx.
Pace, R. W., Smith, P. C., & Mills, G. E. (1991). Human Resource Development: The Field. Englewood Cliffs, N.J: Prentice Hall.
Patcharasophit, K. (2019). Factors affecting the performance of life insurance agents in AIA life insurance companies. Master of Business Administration. Kasem Bundit University.
Posttoday. (2018, August 6). Personnel development in the 21st century. Retrieved from https://www.posttoday.com/life/life/559988
Sitthipong, T. (2010). Needs for individual development of personnel in Sub-district administration organization in Tak province. Master of Public Administration Thesis (Local Government). Kamphaengphet University.
Utamontree, N. (2015). Personnel development: A case study of Ubon Ratchathani University. Journal of Liberal Arts, Ubon Ratchathani University, 11(1), 25-67.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York. Harper and Row. Publications.