ความผูกพันองค์การที่มีผลต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท สุนทรเมทัลอินดัสทรี้ส์ จำกัด

Main Article Content

ฉวิวรรณ ปูรานิธี
ณัฎฐิพล ปูนิธี

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง: ความผูกพันองค์การที่มีผลต่อประสิทธิผลของการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท สุนทรเมทัลอินดัสทรี้ส์ จำกัด เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของความผูกพันองค์การ กับประสิทธิผลของการปฏิบัติงาน โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานของบริษัท สุนทรเมทัลอินดัสทรี้ส์ จำกัด โดยใช้แบบสอบถาม และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือทางสถิติ โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ สถิติการวิเคราะห์การหาค่าประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation) และ สถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงาน โดยรวมทั้งหมดมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 4.17 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสัมพันธภาพ มีความคิดเห็นอยู่ที่ระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 ด้านเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านความ ก้าวหน้าในงาน มีความคิดเห็นอยู่ที่ระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.84


สำหรับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน โดยรวมทั้งหมดมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยทั้งหมดเท่ากับ 4.50 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การปรับตัว/การยืดหยุ่น (Adaptability Flexibility) มีความคิดเห็นอยู่ที่ระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.60 และด้านเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การบูรณาการ (Integration) มีความคิดเห็นอยู่ที่ระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 ในการทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันต่อองค์การของพนักงาน กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ผลการวิจัยพบว่า ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานด้านความต้องการพื้นฐาน, ด้านการสนับสนุนการบริหารขององค์การ และ ด้านสัมพันธภาพมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติ งานของพนักงานขององค์การที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 ส่วนความผูกพันต่อองค์การของพนักงานด้านพฤติกรรม, ด้านเจตคติ, ด้านการปกป้องชื่อเสียงและภาพลักษณ์และด้านความก้าวหน้าในงาน ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงาน ขององค์การที่ระดับนัยสำคัญ 0.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แก้วตา ผู้พัฒนพงศ์. (2559). การจัดการทุนมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรุณ รักธรรม. (2525). หลักมนุษยสัมพันธ์กับการบริหาร. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

Baron, R. A. (1986). Behavior in Organization. Boston: Allyn and Bacon.

Campbell,R.F.et al. (1977). “On the Nature of Organizational Effectiveness” in New purposetives on Organizational Effectiveness. Edited by Paul S. Goodman and Johannes M.Pennings and Associates.San Francisco : Jassay Bass.

Coffman, Curt W. and Gonzalez-Molina, Gabriel. (2002). Follow This Path: How the World’s Greatest Organizations Drive Growth by Unleashing Human Capital. New York: Warner Book, Inc.

Herbert J., & Arthur w. Sherman. (1976). Personal Management. Ohio : South Western Publishing Co.

Greenberg, Jeraid. and Baron, Robert A. (1993). Organizational Behavior. (4th ed.). Boston: Allyn and Bacon.

Gibson, J. L., Lvacerich, J. M., & Donnelly, J. H. (1979). Organizations: behavior structure and Process. Texas: Business.

Gibson, J. L. (2000). Organizations Behavior (7th ed.). Boston: Irwin.

Mowday, R.T., Porter, L.W. & Steer, R.M. (1982). Employee - Organizational Likage: The Psychology of Commitment Absenteeism and Turnover. New York: Academic Press

Nahavendi, A.& Malekzadeh, A.R. (1999). Organizational Behavior: The Person organizational Fit.

Steers R.M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly.

Sheldon Mary. (1971). Investment and Involvements as Mechanism ProducingCommitment to the Organization. 143 Administrative Science Quarterly