อิทธิพลของแรงจูงใจ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และการรับรู้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจติดตั้งกล้องติดรถยนต์ส่วนบุคคลของผู้ใช้รถในเขตกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแรงจูงใจ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการติดตั้งกล้องติดรถยนต์ส่วนบุคคล การรับรู้ประโยชน์ของการติดตั้งกล้องติดรถยนต์ส่วนบุคคล และศึกษาถึงอิทธิพลของแรงจูงใจ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด และการรับรู้ประโยชน์ต่อการตัดสินใจติดตั้งกล้องติดรถยนต์ส่วนบุคคลของผู้ใช้รถในเขตกรุงเทพมหานคร โดยในการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ใช้รถยนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 400 คน แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลแบบสถิติเชิงพรรณนาด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม และใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และค่าสถิติเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง และค่าสถิติการวิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ (X1) ด้านราคา (X2) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (X3) ด้านการส่งเสริมการตลาด (X4) ด้านกระบวนการให้บริการ (X6) และด้านการรับรู้ประโยชน์ (X8) เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจติดตั้งกล้องติดรถยนต์ส่วนบุคคลของผู้ใช้รถในเขตกรุงเทพมหานคร โดยพบว่า ด้านการส่งเสริมการตลาด (X4) เป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจติดตั้งกล้องติดรถยนต์ส่วนบุคคลของผู้ใช้รถในเขตกรุงเทพมหานครมากที่สุด (ß = 0.339) รองลงมา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย (X3) (ß = 0.296) ด้านการรับรู้ประโยชน์ (X8) (ß = 0.283) ด้านกระบวนการให้บริการ (X6) (ß = 0.149) ด้านผลิตภัณฑ์ (X1) (ß = 0.108) และด้านราคา (X2) (ß = 0.092) โดยตัวแปรทั้ง 6 ตัว สามารถสามารถพยากรณ์ความผันแปรของการตัดสินใจติดตั้งกล้องติดรถยนต์ส่วนบุคคลของผู้ใช้รถในเขตกรุงเทพมหานครได้ คิดเป็นร้อยละ 52.80 ที่เหลืออีกร้อยละ 47.20 เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรอื่น
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
Bureau of Library, Vongchavalitkul University. (2011). The theory of consumer behavior. Retrieved
November 17, 2018, from https://library.vu.ac.th/km/?p=694
Cochran, W. G. (1953). Sampling Techniques. New York: John Wiley & Sons.
Department of Disaster Prevention and Mitigation. (2017). The accident on the road. Retrieved November 17,
2018, from www.disaster.go.th.
Jaturongkakul, A. (2008). Consumer Behavior. Bangkok: Thammasat University.
Maslow. (1970). Motivation and Personality. New York: Harper and Row Publishers.
Office of Insurance Commission. (2017). The announcement from discount car insurance car making. Retrieved November 17, 2018, from https://www.oic.or.th/th/home.
Prachachat news. (2015). Contrails market boils erupt Brands-Store chaotically compete for customers.
Retrieved November 17, 2018, from https://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1492874587
Seidenberg, B. (1976). Social Psychology. New York: Press.
Sangsuwan, T. (2012). Marketing Management. Bangkok: Pearson Education.
Satawatin, P. (2005). Mass communication: theory and process. Bangkok: Phappim.
Sukprasert, T. (2014). Factors influencing purchase decisions for dashboard camera in the Bangkok
Metropolitan Area, Thailand. Bangkok: THAMMASAT UNIVERSITY.
Tengtrirat, J. (2008). General Psychology. Bangkok: Samlada Print.