การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานยุติธรรมชุมชน

Main Article Content

ยุทธนา มาสำราญ
วราภรณ์ ทรัพย์รวงทอง
สมบูรณ์ สุขสำราญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการงานยุติธรรมชุมชน และ (2) เพื่อพัฒนาแนวทางการบริหารจัดการงานยุติธรรมชุมชน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถและมีประสบการณ์ในด้านรัฐประศาสนศาสตร์ รัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 25 คน และปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนบน 2 รวมทั้งสิ้น จำนวน 291 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามรอบที่ 3 ที่สร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คน โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) และศึกษาตัวแปรอิสระ คือ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม และการบริหารจัดการงานยุติธรรมชุมชน ประกอบด้วย (1) การเสริมพลัง (2) การป้องกันและสร้างภูมิคุ้มกันจากปัญหาอาชญากรรม และการกระทำผิด (3) การเยียวยา (4) การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ และ (5) การรับผู้กระทำผิดกลับคืนสู่ชุมชน และตัวแปรตาม คือ การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานยุติธรรมชุมชน ประกอบด้วย (1) แบบการมีส่วนร่วม (2) แบบหุ้นส่วน (3) แบบระดมพล และ (4) แบบตัวกลาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอร์ไทล์


ผลการวิจัยพบว่า (1) ข้อมูลส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 64.95 มีอายุระหว่าง 46-50 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 36.43 ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาสูงสุดในระดับปริญญาตรี/หรือเทียบเท่า คิดเป็นร้อยละ 69.07 ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อเดือน 50,001 – 60,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 37.11 และมีอายุราชการ 16 – 20 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 26.46 (2) การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานยุติธรรมชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x¯ = 4.07, S.D.= 0.53) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า แบบการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x¯ = 4.13, S.D.= 0.54) รองลงมาได้แก่ แบบหุ้นส่วน (x¯ = 4.11, S.D. =0.55) แบบระดมพล (x¯ = 4.07, S.D.= 0.52) และแบบตัวกลาง (x¯ =3.96, S.D.= 0.51) ตามลำดับ (3) การบริหารจัดการงานยุติธรรมชุมชนขององคก์ รปกครองส่วนท้องถิ่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x¯ = 4.11, S.D.=0.53) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การเยียวยา อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x¯ = 4.20, S.D.=0.52) รองลงมาได้แก่ การป้องกัน และสร้างภูมิคุ้มกันจากปัญหาอาชญากรรม และการกระทำผิด (x¯ =4.15, S.D. = 0.55) การจัดการความขัดแย้งเชิงสมานฉันท์ (x¯ = 4.13, S.D. = 0.52) การเสริมพลัง (x¯ = 4.10, S.D. =0.53) และการรับผู้กระทำผิดกลับคืนสู่ชุมชน (x¯ = 3.98, S.D. = 0.52) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
มาสำราญ ย., ทรัพย์รวงทอง ว., & สุขสำราญ ส. (2017). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการงานยุติธรรมชุมชน. วารสารรัชต์ภาคย์, 11(21), 67–80. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/171507
บท
บทความวิจัย