ผลกระทบของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสองภาษา สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เลิศศักดิ์ นาวารัตน์
มณฑป ไชยชิต
วินัย ดำสุวรรณ
สนั่น ประจงจิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสองภาษาสังกัด


กรุงเทพมหานคร (2) ศึกษาผลกระทบของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสองภาษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างถูกเลือกโดยวิธีการสุ่มอย่างง่ายจากโดยใช้การจับฉลากแบบไม่แทนที่ครูประจำชั้น ที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนสองภาษาสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 375 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Explanatory factor analysis และ Path Analysis ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสองภาษาสังกัดกรุงเทพมหานคร มีสององค์ประกอบ คือ (1.1) งานตามหน้าที่ (1.2) งานนอกเหนือหน้าที่ (2) ปัจจัยมีผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสองภาษา สังกัดกรุงเทพมหานครมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-Square=4.102, df =3, CMIN\DF =1.367, RMR =.005, GFI =.997, RMSEA =.031) พบว่าปัจจัยด้านความไร้กังวลในการทำงาน และความสมดุลในการทำงาน อิทธิพลทางตรงต่อผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .14 และ .79 ความไร้กังวลในการทำงานและการพัฒนาวิชาชีพมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .64 และ .15การสนับสนุนทรัพยากร และความท้าทายในงานมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .51 และ .27 และความสมดุล มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ .06ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่องานตามหน้าที่ คือความไร้กังวลในการทำงาน ความสมดุลในการทำงาน การสนับสนุนทรัพยากร และความท้าทายในงานร่วมกันอธิบายความแปรของผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้ร้อยละ 64 และ ตัวแปรที่มีอิทธิพลต่องานนอกเหนือหน้าที่ได้แก่ ความไร้กังวลในการทำงานและ การพัฒนาวิชาชีพ และความสมดุลร่วมกันอธิบายของผลการปฏิบัติงานนอกเหนือหน้าที่ได้ร้อยละ 43

Article Details

How to Cite
นาวารัตน์ เ., ไชยชิต ม., ดำสุวรรณ ว., & ประจงจิตร ส. (2017). ผลกระทบของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนสองภาษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารรัชต์ภาคย์, 11(21), 166–178. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/171729
บท
บทความวิจัย