ประสิทธิผลการดำเนินงานของผู้นำเทศบาลในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้ คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการดำเนินงานของผู้นำเทศบาลในประเทศไทย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อตำแหน่งงานของผู้นำเทศบาลในประเทศไทย 3) เพื่อนำผลที่ได้ไปพัฒนาเทศบาลในประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพิ่มมากขึ้น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม บุคลากรของเทศบาลเมืองเขลางค์นคร จังหวัดลำปาง เทศบาลเมืองศิลา จังหวัดขอนแก่น เทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี เทศบาลเมืองหนองปรือ จังหวัดชลบุรี เทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เทศบาลเมืองควนลัง จังหวัดสงขลา ที่เป็นตัวแทน รวมทั้งสิ้น 277 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาสรุปได้ว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ด้านการสร้างแรงดลใจที่ดี โดยรวมแล้ว อยู่ในระดับมาก ด้านการมีอิทธิพลที่ประกอบไปด้วยอุดมการณ์โดยรวมแล้ว อยู่ในระดับมาก ด้านการกระตุ้นให้เกิดการใช้ปัญญาอยู่ในระดับมาก และด้านพฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์รายบุคคลอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิผลของเทศบาล พบว่า ประสิทธิผลของเทศบาลอยู่ในระดับมาก 3) ผลของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของเทศบาลในประเทศไทย คือ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการสร้างแรงดลใจที่ดี (IM) และพฤติกรรมมุ่งความสัมพันธ์รายบุคคล (IC) โดยมีสมการทำนายประสิทธิผลของเทศบาล เป็นดังนี้ ประสิทธิผลของเทศบาล = 1.331 + 0.339 (IM ) + 0.333 (IC)
Article Details
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
Barker, D. G. (1992). Changing Social Values in Europe. Business Ethics: A European Review, 1(2), 91-107.
Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1995). The four I’s transformational leadership. Journal of European Industrial
Training, 15(2), 9-16.
Bohn, H. (2002). Government asset and liability management in an era of vanishing public Debt. Santa
Barbara: University of California at Santa Barbara.
Boonleaing, S. et al. (2012). Satisfaction of service recipients regarding service quality of local administrative
organizations in Phetchabun province. Retrieved March 14, 2019, from http://human.pcru.ac.th/vijai/vi55.pdf
Chandasuwan, P. et al. (2012). Transformational Leadership, Organizational Culture, Learning Organization and
Effectiveness of Subunits within Stations of Metropolitan Police Division: Path Analysis. Romphruek
Journal, 30(1), 89-116.
Chaum, T. (2015). A Management Effectiveness Model of Sub-District Municipalities in Central Region of
Thailand. Doctor of Philosophy Management Program, Siam University.
Dhiravegin, L. (2007). Evolution of Thai government politics. Bangkok: Thammasat University.
Mayer, R. C., Davis, J. H., & Schoorman, F. D. (1995). An Integrative Model of Organizational Trust. The
Academy of Management Review, 20(3), 709–734.
Puangngam, K. (2003). Thai local government: principles and new dimensions in the future (3rd ed.). Bangkok:
Winyuchon.
Rattanadilok Na Phuket, P. (2007). Leadership and practical guidelines for local administrator under changing
context. Journal of Local Development, 2(1), 121-148.
Reddin, W. J. (1970). Managerial Effectiveness. Tokyo: McGraw-Hill Kogakusha.
Thanaphongsathorn, K. (2008). Key principles of training in the teaching manual Academic of Human
Resource Development in Organization. Bangkok: n.p.
Vinitwatanakhun, W. (2002). Factors affecting organizational effectiveness of nursing institute in Thailand.
Retrieved march 14, 2019, form http://www.journal.au.edu/au_techno/2002/apr2002/article8.pdf
Wirawut, S. (2011). Factors affecting, effectiveness of the primary schools, the Office of Basic Education
Commission. journal of Administration and development, Mahasarakham University, 3(3), 111-126.