สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และแนวทางพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม

Main Article Content

อินธุอร ปุนากรณ์
สุมาลี ศรีพุทธรินทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ของกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของกระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน 3) พัฒนาแนวทางพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษาและครู จำนวน 368 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเทียบตารางของ Krejcie and  Morgan ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มี 4 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 ทุกข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .24 – .72 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .96 (2) แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 ทุกข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .24 – .78 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .97 (3) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 ทุกข้อ (4) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 ทุกข้อ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับ 3) แนวทางพัฒนาพบว่า มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
ปุนากรณ์ อ., & ศรีพุทธรินทร์ ส. (2021). สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และแนวทางพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จังหวัดนครพนม. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(38), 179–194. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/248252
บท
บทความวิจัย

References

DAĞ, F., Sumuer, E., & Durdu, L. (2019). Pre-service Teachers’ Perceptions and Experiences: Courses Based on the Active Learning Model and Environment. Turkey: Kocaeli University.

Funfuengfu, V. (2019). The Success of Active Learning Management. Valaya Alongkorn Review (Humanities and Social Science), 9(1), 135-145.

Hartikainen, S., Rintala, H., Pylväs, L., & Nokelainen, P. (2019). The Concept of Active Learning and the Measurement of Learning Outcomes: A Review of Research in Engineering Higher Education. Education Sciences, 9(4), 276.

Namjaidee, S. (2009). The development process into a learning community. Khon Kaen: Khon Kaen University.

Office of the Basic Education Commission. (2019). Quality Assessment Guidelines according to basic education standards for insurance purposes Internal quality of the school. Bangkok: National Buddhism Printing Company.

Office of the Education Council. (2018). Education in Thailand 2018. Bangkok: Prigwhan Graphic.

Office of the Private Education Commission. (2019). Internal quality assurance in general educational Institutions is governed by the law of the Ministry of education quality assurance. Bangkok: Ladprao Commercial Printing Company.

Panich, V. (2012). Ways to create learning for students in the 21st century. Bangkok: Tathata Publication Co., Ltd.

Peamwiriwon, P. (2013). Poor curriculum and quality (2nd ed.). Bangkok: Suweeriyasan.

Pongprapapan, P., Deawprasert, T., & Nuganya, W. (2013). Effectiveness of a Student-Centered Teaching-Learning Strategy as Perceived by Faculties and Students in Bangkokthonburi. University Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 21(2), 29-38.

Puspitarini, Y. D., & Hanif, M. (2019). Using Learning Media to Increase Learning Motivation in Elementary School. Anatolian Journal of Education, 4(2), 53-60.

Keawdang, R. (2010). Revolutionizing Thai Education (5th ed.). Bangkok: Pimdee.

Sadtawut, N. (2018). Integrated Teaching. Bangkok: Amarin Printing.

Samanmit, A. (2018). The Development of Mathematics Learning Activity Based on Active Learning by Participation of Teachers in Ratchaburi Province. Proceedings of ACE CMU 1st at July 2-3, 2018, Chiang Mai University, 540-551.

Sattrapruek, S. (2017). Flipped Classroom in 21st Century Learning for Development of Learning and Innovation Skills. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 28(1), 100-108.

Sirimahasakorn, B. (2017). The study of readiness to provide basic education. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Sriprasead, J. (2016). Physical Education Teaching Skills and Techniques at the Primary Level. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Sriputtarin, S. (2019). Educational Quality Assurance (4th ed.). Khon Kaen: Klungnanavitthaya press.

Wongwanich, S. (2015). Needs Assessment Research (3rd ed.). Bangkok: V Print (1991) Co, Ltd.