วิธีการติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง กรณีศึกษา: หมู่บ้านคลองหก ต.เกาะเปริด อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี

Main Article Content

ทบทอง ชั้นเจริญ
วิระ ศรีมาลา

บทคัดย่อ

     จังหวัดจันทบุรี มีความยาวชายฝั่งทะเลประมาณ 87 กม. ครอบคลุมพื้นที่ อ.นายายอาม อ.ท่าใหม่  อ.แหลมสิงห์ และอำเภอขลุง ซึ่งเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าต่อระบบเศรษฐกิจ สังคมและนิเวศวิทยาอื่นๆ ปัจจุบันพื้นที่ชายฝั่งทะเลได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ และเกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ชายฝั่งตามมา โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินบริเวณชายฝั่ง ผู้วิจัยจึงมุ่งเน้นวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลการรับรู้จากระยะไกลและการประมวลผลภาพเชิงเลขมาใช้ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งในหมู่บ้านคลองหก ต.เกาะเปริด อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2533 และ ปี พ.ศ. 2547 จากข้อมูลภาพดาวเทียมแลนแซตมาใช้ในการศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งด้วยวิธีการจำแนกแบบความน่าจะเป็นสูงสุดและวิธีการจำแนกเชิงวัตถุ ร่วมกับเทคนิคการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงจากผลการจำแนกข้อมูลใน 2 ช่วงเวลา จากข้อมูลดาวเทียมแลนแซตพร้อมทั้งประเมินความถูกต้อง 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของการเลือกใช้วิธีการจำแนกข้อมูล และ 3) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการรับรู้จากระยะไกล รวมทั้งนำผลการศึกษาปัญหาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งที่ไดรับไปใชในการวางแผนการจัดการ การอนุรักษ การฟนฟูทรัพยากรชายฝั่งที่มีอยู่อยางจํากัดให้คงอยู่ต่อไป วิธีการศึกษาแบ่งออกเป็น 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การคัดเลือกพื้นที่ศึกษา 2) การจัดหาข้อมูลและประมวลผลข้อมูลเบื้องต้น 3) การจำแนกข้อมูลภาพแบบความน่าจะเป็นสูงสุดและการจำแนกเชิงวัตถุ 4) การตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงเชิงเลข 5) การสำรวจภาคสนามและประเมินความถูกต้อง และ 6) การประเมินความเหมาะสมการเลือกใช้วิธีการจำแนกข้อมูล


     ผลการจำแนกประเภทการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินด้วยวิธีการจำแนกแบบความน่าจะเป็นสูงสุดและวิธีการจำแนกเชิงวัตถุจากข้อมูลภาพ 2 ช่วงเวลา พบว่า ประกอบด้วย 5 ประเภทข้อมูล ได้แก่ 1) แหล่งน้ำ 2) สถานที่เพาะเลี้ยงกุ้ง 3) ที่โล่ง 4) ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และ 5) ป่าชายเลน ผลการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงจากผลการจำแนกข้อมูลใน 2 ช่วงเวลา จากการจำแนกแบบความน่าจะเป็นสูงสุดและการจำแนกเชิงวัตถุ พบว่า รูปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินมี 25 ประเภทข้อมูล และสามารถระบุการเปลี่ยนแปลงของประเภทการจําแนกแบบ From-To ได โดยพบว่า การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งจากผลการจำแนกแบบความน่าจะเป็นสูงสุด ประเภทการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินเพิ่มขึ้น ได้แก่ พื้นที่น้ำ สถานที่เพาะเลี้ยงกุ้ง พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และป่าชายเลน เท่ากับ 1.53, 0.38, 0.19, 2.30 ตร.กม. ตามลำดับ และประเภทการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินลดลง ได้แก่ พื้นที่โล่ง เท่ากับ 4.40 ตร.กม. ในขณะเดียวกัน การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งจากผลการจำแนกเชิงวัตถุ ประเภทการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินเพิ่มขึ้น ได้แก่ พื้นที่น้ำ สถานที่เพาะเลี้ยงกุ้ง พื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้าง และป่าชายเลน เท่ากับ 1.78,  0.06, 0.59 และ 2.35 ตร.กม. ตามลำดับ และประเภทการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินลดลง ได้แก่ พื้นที่โล่ง เท่ากับ 4.79 ตร.กม. ผลการประเมินความถูกต้องการจำแนกประเภทการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน พบว่า การจำแนกแบบความน่าจะเป็นสูงสุดและการจำแนกเชิงวัตถุ มีค่าความถูกต้องโดยรวมและค่าสัมประสิทธิ์แคปปาของผลการจำแนกประเภทการใช้ที่ดินและสิ่งปกคลุมดิน เท่ากับร้อยละ 77.63, 67.86, 84.75 และ 77.32 ตามลำดับ นอกจากนี้ ในการประเมินความเหมาะสมของการเลือกใช้วิธีการจำแนกข้อมูล พบว่า การจำแนกเชิงวัตถุมีความเหมาะสมในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของการกัดเซาะชายฝั่งมากกว่าการจำแนกแบบความน่าจะเป็นสูงสุด เนื่องจากมีความถูกต้องโดยรวมและค่าสัมประสิทธิ์แคปปาสูงกว่า และเมื่อนำการทดสอบความแตกต่างกันของค่าสัมประสิทธิ์แคปปาโดยการทดสอบค่า Z มาพิจารณาร่วมด้วย พบว่า การจำแนกเชิงวัตถุมีความถูกต้องโดยรวมและค่าสัมประสิทธิ์แคปปาสูงกว่าการจำแนกแบบความน่าจะเป็นสูงสุดอย่างมีนัยสำคัญ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 80 90 และ 95

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กรมพัฒนาที่ดิน. (2552). การจำแนกการใช้ประโยชน์ที่ดิน. ส่วนวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน. กรมพัฒนาที่ดิน

2. กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2552). โครงการวางแผนแม่บทการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและวางผังท่าเรือเพื่อรองรับการขยายพื้นที่อุตสาหกรรมชายฝั่งด้านตะวันออก. [ออนไลน์].ได้จาก: https://marinegiscenter.dmcr. go.th/km/wp-content/uploads/coastalerosion /study11.pdf

3. __________. (2554). การจัดการการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในประเทศไทย. [ออนไลน์].ได้จาก: https://marinegiscenter. dmcr.go.th/km/wp-content/uploads/ coastalerosion/study1.pdf

4. กรมทรัพยากรธรณี. (2545). การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย. [ออนไลน์].ได้จาก: https://marinegiscenter.dmcr.go.th/km/wp-content/uploads/coastalerosion/study3.pdf

5. สิน สินสกุลและคณะ. (2545). การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย. กองธรณีวิทยากรมทรัพยากรธรณี. กรุงเทพฯ

6. อดุลย์ เบ็ญนุ้ย และพะยอม รัจนมณี. (2554). เอกสารการประชุมวิชาการระดับชาติ เรื่อง “การจัดการภัยพิบัติธรรมชาติในภาคใต้ของประเทศไทย” ส่วนที่ 1/3 การกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

7. Congalton, R. G. and Green, K. (2009). Assessing the Accuracy of Remotely Sensed Data: Principles and Practices. CRC Press Taylor&Francis Group.

8. Landis, J. and Koch, G. (1977). The measurement of observer agreement for categorical data. Biometrics. 33: 159-174.

9. Marangoz, A. M. Görmüş, K. S. Kutoglu, H. S. and Alkis, Z. (2012). Verification of Temporal Analysis of Coastline using Object-based Image Classification Derived from Landsat-5 Images of Karasu, Sakarya - Turkey. Proceedings of the 4th GEOBIA. Rio de Janeiro, Brazil. p.321