ศึกษาดนตรีประกอบการแสดงปันจักสีลัต : กรณีศึกษาวงปันจักสีลัตฮารีเมาปัตตานี บ้านแบรอ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี

Main Article Content

วิศรุต เจี้ยงยี่

บทคัดย่อ

     ปริญญานิพนธ์ฉบับนี้เป็นการศึกษาวิจัยเรื่อง ศึกษาดนตรีประกอบการแสดงปันจักสีลัต กรณีศึกษาวงปันจักสีลัตฮารีเมาปัตตานี บ้านแบรอ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันของปันจักสีลัตฮารีเมาปัตตานี 2. การแสดงปันจักสีลัตพร้อมดนตรีประกอบ โดยปันจักสีลัตฮารีเมาปัตตานี บ้านแบรอ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี 


     ผลการศึกษาพบว่า


ปันจักสีลัตฮารีเมาปัตตานีก่อตั้งด้วยความอนุเคราะห์ของผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1 บ้านแบรอ ตำบลตะลุโบะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี โดยเกิดจากอาจารย์มะซัพรี เพื่อนๆ และเด็กๆในหมู่บ้านที่มีความสนใจในการแสดงการต่อสู้รูปแบบต่างๆ ของปันจักสีลัต ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 เล็งเห็นความสำคัญของปันจักสีลัตที่พัฒนาการขึ้นมาจากการละเล่นสิละ จึงก่อตั้งเป็นปันจักสีลัตฮารีเมาปัตตานีขึ้นมา


     การแสดงปันจักสีลัตฮารีเมาปัตตานีมีการแบ่งชุดการแสดงเป็น การไหว้ 4 ทิศ และ 8 ชุดการแสดงและท่ารำขอบคุณหลังจบการแสดง ปันจักสีลัตฮารีเมาปัตตานีมีการแสดงการต่อสู้ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งท่ารำการต่อสู้ของปันจักสีลัตฮารีเมาปัตตานีที่เป็นเอกลักษณ์ คือ ท่าเสือ ทางปันจักสีลัตฮารีเมาปัตตานีเองได้มีการคิดท่ารำต่างๆ สำหรับการแสดงการต่อสู้และการป้องกันตัวขึ้นมาจากท่าเสือเป็นหลักเพื่อใช้ในการแสดงการต่อสู้


     ดนตรีประกอบการแสดงปันจักสีลัตของปันจักสีลัตฮารีเมาปัตตานี ประกอบด้วย ปี่เป็นเครื่องดำเนินทำนองโดยอยู่ในระดับเสียงใกล้เคียงกับบันไดเสียง อี โดเรียน (E Dorian mode) กลองตัวเล็กกลองตัวใหญ่ และฆ้องเป็นเครื่องประกอบจังหวะ โดยมีรูปแบบกระสวนจังหวะหลักในบทเพลงอยู่ 4 แบบ โดยการบรรเลงประกอบการแสดงปันจักสีลัตโดยเป็นการบรรเลงโหมโรงและการไหว้ 4 ทิศการไหว้ครู อยู่ในจังหวะช้าและเร็วขึ้นในชุดการแสดงต่อสู้และท่ารำอาวุธต่างๆ โดยมีการบรรเลงเพลงตั้งแต่โหมโรงยาวไปตลอดจนจบการแสดง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เจษฎา เนตรพลับ. (2549). การแสดงสิละคณะพิกุลทองจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานาฎยศิลปะ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

2. เฉลิม มากนวล. (2530). แล...รูสมิแล. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

3. ดรุณี บุญภิบาล. (2530). การศึกษาเปรียบเทียบวัฒนธรรมชาวไทยมุสลิมในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาสกับจังหวัดสตูล ซึ่งมีผลกระทบต่อการปกครอง. สงขลา:สถาบันทักษิณคดีศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

4. บุษกร บิณฑสันต์. (2554). ดนตรีภาคใต้ ศิลปิน การถ่ายทอดความรู้ พิธีกรรมและความเชื่อ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

5. พรเทพ บุญจันทร์เพชร. (2544). ศึกษานาฏศิลป์พื้นบ้านของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยานิพนธ์ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา). สงขลา: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

6. วาที ทรัพย์สิน. (2546). ดิเกร์ฮูลู:ฤาจะบูมตามสื่อโฆษณา,รูสะมิแล, 24(2), 49-53

7. สุพัตรา สุภาพ. (2536). สังคมและวัฒนธรรมไทย: ค่านิยมครอบครัว ศาสนา ประเพณี. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

8. สมปราชญ์ อัมมะพันธุ์. (2548). ประเพณีท้องถิ่นภาคใต้. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.

9. เสาวภา ไพทยวัฒน์. (2538). พื้นฐานวัฒนธรรมไทย: แนวทางอนุรักษ์และพัฒนา. กรุงเทพ: สถาบันราชภัฏ.