การสร้าง แบบทดสอบ วัดความสามารถ ทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดของมาร์ซาโน (Marzano’s Taxonomy)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้าง และ ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดของมาร์ซาโน และสร้างเกณฑ์ปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2556 จำนวน 860 คน เลือกมาโดยการสุ่มอย่างง่าย การดำเนินการวิจัยมีรายละเอียดดังนี้
1.การสร้าง แบบทดสอบ วัดความสามารถ ทางการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ ภาษาไทย ตามโครงสร้างทักษะการคิดวิเคราะห์ตามแนวคิดของมาร์ซาโน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการจับคู่ ด้านการจำแนก ด้านการวิเคราะห์ข้อผิดพลาด ด้านการสรุปความทั่วไปและ ด้านการสรุปเป็นหลักเกณฑ์เฉพาะ
2.การหาคุณภาพของแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดของมาร์ซาโน ซึ่งประกอบด้วย (1) ค่าความตรงเชิงเนื้อหาโดยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ (2) ค่าความยากง่ายของแบบทดสอบ (3) ค่าอำนาจจำแนกโดยใช้สูตร The Point-Biserial Correlation Coefficient (4) ค่าความเที่ยงโดยใช้สูตร KR-20 (5) ค่าความตรงตามสภาพโดยการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดของมาร์ซาโนกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (6) ความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
3.การสร้างเกณฑ์ปกติระดับท้องถิ่น ของแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดของมาร์ซาโน ด้วยวิธีการแปลงคะแนนดิบให้เป็นคะแนนเปอร์เซ็นไทล์
ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5สาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดของมาร์ซาโน ที่สร้างขึ้น มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับได้ นั่นคือ มีความตรงเชิงเนื้อหา โดยการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ มีค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหากับนิยามตัวชี้วัด เท่ากับ 0.6-1.00 มีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.20-0.79 มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.08-0.72 มีค่าความเที่ยง เท่ากับ 0.81 มีค่าความตรงตามสภาพ เท่ากับ 0.63 และมีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยพิจารณาจากค่าไค-สแควร์ ( ) เท่ากับ 2887.65 (p=0.00)
ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ .024 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) มีค่าเท่ากับ .830 ดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) มีค่าเท่ากับ .819 ดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) มีค่าเท่ากับ .971 และดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนที่เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ 0.010 เป็นไปตามเกณฑ์ของความสอดคล้องกลมกลืน จึงพิจารณาได้ว่า แบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดของมาร์ซาโน โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และเกณฑ์ปกติระดับท้องถิ่นในรูปตาราง ตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ของแบบทดสอบวัดความสามารถทางการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามแนวคิดของมาร์ซาโน พบว่า มีคะแนนดิบตั้งแต่ 13 ถึง 71 คะแนน เปอร์เซ็นไทล์ .37 ถึง 99. 87
Article Details
References
2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้หลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
3. เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2546). การคิดเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
4. ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 12. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ จำกัด.
5. เชิดศักดิ์ โฆวาสินธุ์. (2540). การพัฒนาคุณภาพการคิด. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
6. ทิศนา แขมมณี. (2540). แบบแผนและเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
7. ทิศนา แขมมณี. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.
8. ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2540). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
9. ทิศนา แขมมณี, พิมพันธ์ เดชะคุปต์, ศิริชัย กาญจนวาสี, ศรินธร วิทยะสิรินันท์ และนวลจิตต์ เชาวกีรติพงศ์. (2540). ทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สํานักนายกรัฐมนตรี.
10. นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2537). ความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น (LISREL): สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
11. นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
12. บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2545). การพัฒนาเครื่องมือสำหรับการประเมินการศึกษา.นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
13. ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2551). การพัฒนาการคิด. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
14. ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2552). แบบฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ระดับประถมศึกษาตอนปลาย.
15. สุรีพร อนุศาสนนันท์. (2554). การวัดและประเมินในชั้นเรียน. ชลบุรี: เก็ทกู๊ดครีเอชั่น.
16. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). ผลการประเมินคุณภาพการศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบสอง. เข้าถึงได้จาก www.onesqa.or.th/th.
17. ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
18. Kline, P. (2000). Handbook of psychological testing (2nd ed.). London: New Fetter Lane.
19. Lumpkin. Cynthai Rolen. (1991). Effect of Teaching Critical Thinking Skill on the Critical Thinking Ability, Achievement, and Retention of Social Student Content by Fifth and Six-graders, Dissertation Abstracts.
20. Marzano , Robert J. (2001). Designing A New Taxonomy of Educational Objectives. California: Corwin Press.